คนไทยในเวทีโลก...12 นักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้รับการจัดอันดับ ‘The World’s Top 2% Scientists’ โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ให้เป็นหนึ่งใน ‘นักวิทยาศาสตร์ที่มีผู้อ้างอิงมากที่สุด 2% แรกของโลกประจำปี 2023’ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ ข้อมูลการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด และข้อมูลอ้างอิงเฉพาะ 1 ปีล่าสุด
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า นับเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย และสถาบันฯ ที่ 12 นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผู้สร้างชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์แก่ประเทศไทยในเวทีโลก ตอกย้ำถึงศักยภาพของคนไทย ซึ่งสร้างประโยชน์ต่อประเทศและประชาคมโลก ในโอกาสที่ได้รับการจัดอันดับใน The World’s Top 2% Scientists by Stanford University 2023 ซึ่งเป็นการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ 2% แรกของโลก ปี 2023 ดำเนินการโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมข้อมูลผลงานของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยชั้นแนวหน้าจากทั่วโลกกว่า 100,000 คน เข้าร่วมการจัดลำดับในครั้งนี้ ประกอบด้วยข้อมูลผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง และ h-index แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.ข้อมูลผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (Career-long Citation Impact) และ 2.ประเภทอ้างอิงเฉพาะ 1 ปีล่าสุด (Single Year Citation Impact) โดยจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกนี้ แบ่งออกเป็น 22 สาขาและ 174 สาขาย่อย โดยข้อมูลที่เผยแพร่นี้เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากฐานข้อมูล Scopus เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2023
กลุ่มนักวิจัยชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประเภทผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (Career-long Citation Impact) ประกอบด้วย 8 นักวิจัย สจล. ดังนี้
1. ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์เจต พรหมวงศ์ (Pongjet Promvonge) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. ศาสตราจารย์ ดร.อิสระชัย งามหรู (Issarachai Ngamroo) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
3. ศาสตราจารย์ ดร.วรพงศ์ ตั้งศรีรัตน์ (Worapong Tangsrirat) ภาควิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อนันต์ ศรีเกียรติขจร (Anan Srikiatkhachorn) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สจล.
5. ศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สุระกำพลธร (Wanlop Surakampontorn) คณะวิศวกรรมศาสตร์
6. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี คำเงิน (Montree Kumngern) ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรจง บุญชม (Banjong Boonchom) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
8. ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย (Surin Khomfoi) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
กลุ่มนักวิจัยชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประเภทอ้างอิงเฉพาะ 1 ปีล่าสุด (Single Year Citation Impact) ประกอบด้วย 9 นักวิจัย สจล. ดังนี้
1. ศาสตราจารย์ ดร.นราธิป วิทยากร (Naratip Vittayakorn) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
2. ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์เจต พรหมวงศ์ (Pongjet Promvonge) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
3. ศาสตราจารย์ ดร.อิสระชัย งามหรู (Issarachai Ngamroo) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ชินรักษ์ เธียรพงษ์ (Chinaruk Thianpong) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
5. ศาสตราจารย์ ดร.วรพงศ์ ตั้งศรีรัตน์ (Worapong Tangsrirat) ภาควิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์
6. ศาสตราจารย์ นพ.อนันต์ ศรีเกียรติขจร (Anan Srikiatkhachorn) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สจล.
7. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี คำเงิน (Montree Kumngern) ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
8. ศาสตราจารย์ ดร.มยุรา สุนย์วีระ (Mayura Soonwera) ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร
9. รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ใจกล้า (Winai Jaikla) ภาควิชาครุศาสตร์วิศวกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
Comments