@สถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันนี้ มีปริมาณน้ำสูงไปแตะ 1,014.15 ล้าน ลบ.ม หรือคิดเป็น 105.64% ทั้งที่ขนาดความจุของอ่างรับได้ 960 ล้านลบ.ม ถือว่าเกินความจุแล้ว
ทางออก คือการเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อน ให้ได้มากทึุ่สุด วันนี้ ได้เพิ่มการระบายขึ้นไปที่ 800.891 ลบ.ม/วินาที จากหลายวันก่อน ปริมาณการระบายเพียงหลัก 400-600 ลบ.ม/วินาที เท่านั้น ดังนั้น ผลที่ตามมาแน่นอนคือ พื้นที่ด้านล่างของเขื่อนจะต้องรับน้ำมากกว่าปกติ 1 เท่า
@เป็นสัญญาณของการเตรียมตัวเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดแบบ 24 ชั่วโมง!!! @ผนวกกับฝนที่เกิดจากล่องความกดอากาศ ทีวจะเทลงมากว่า70%ของพื้นที่
(อ่านข่าวประกอบ)
#คำเตือน11จังหวัด กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง #11จังหวัดลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยา !!!ได้แก่
#อุทัยธานี #ชัยนาท #สิงห์บุรี #อ่างทอง #สุพรรณบุรี #ลพบุรี #สระบุรี #พระนครศรีอยุธยา #ปทุมธานี #นนทบุรี และ #สมุทรปราการ รวมถึง #กรุงเทพมหานคร
#เฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้ำ ใน #แม่น้ำป่าสักและ #แม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้น
ตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. 65 เป็นต้นไป พร้อมแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำให้เตรียมพร้อมรับมือระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงประสานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติและกรมชลประทาน ว่า จากการประเมินฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดว่า
จะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ในช่วงวันที่ 3 - 9 ตุลาคม 2565 ประมาณ 449.90 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จากอัตรา 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นอัตรา 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะทยอยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ซึ่งจะทำให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสักด้านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 1.00 - 1.20 เมตร บริเวณท้ายเขื่อนพระรามหก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40 – 0.60 เมตร และจุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.25 – 0.50 เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในเกณฑ์ 3,300 – 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำน้อยเพิ่มสูงขึ้น
ประกอบกับลุ่มน้ำยมเกิดน้ำป่าไหลหลาก และมีน้ำจากแม่น้ำปิงไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจากจังหวัดชัยนาทถึงสมุทรปราการ จึงต้องจัดการบริหารน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ 2,700 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณอำเภอเมืองชัยนาท และมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท และอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร และจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แจ้ง 11 จังหวัดลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมแจ้งเตือนผู้ประกอบกิจการในแม่น้ำ อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ผู้บังคับเรือโดยสาร/เรือโยงขนส่งสินค้าหรือวัสดุ ท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะ รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ
#โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำตามริมแม่น้ำติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตลอดจนแจ้งจังหวัดประสานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
@รู้ทันเส้นทางน้ำเหนือ กับผู้ว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม.(คลิก)
Cr.ขอบคุณข้อมูลจากกรมชลประทาน -กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ -กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย -คลิปคุณTawan Ketsripuak-คลิปคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์
Comments