"ไทยเนื้อหอม! 9 เดือนแรกปี 67 ต่างชาติลงทุนในประเทศ 636 ราย มูลค่ากว่า 1.3 แสนล้านบาท"
.
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือกับ นาย William Wei Huang ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท GDS Holdings และ Ms. Jamie Gee Choo Khoo ประธานของบริษัท GDS International (GDSI) พร้อมยินดีกับแผนการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Hyperscale Data Center) ในจังหวัดชลบุรีของไทย ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบหารือกับ นาย William Wei Huang ผู้ก่อตั้ง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท GDS Holdings และ Ms. Jamie Gee Choo Khoo ประธานของบริษัท GDS International (GDSI)
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับและยินดีกับแนวทางการลงทุนของบริษัท GDSI ซึ่งจะมีแผนการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Hyperscale Data Center) ในจังหวัดชลบุรีของไทย รัฐบาลไทยยินดีที่บอร์ด BOI ได้อนุมัติโครงการแรกของบริษัทฯ ถือเป็นก้าวสำคัญในการวางรากฐานเพื่อขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่ออำนวยความสะดวกบริษัทที่ลงทุนในประเทศไทย ขอให้เชื่อมั่นศักยภาพประเทศไทยที่สามารถเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับประเทศอื่น ๆ ได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสาธารณูปโภคที่ครอบคลุม มีความพร้อมที่จะก้าวสู่โลกอนาคต รวมทั้งมีแนวทางที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมต่อเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย
ด้านประธานบริษัท GDS กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยและ BOI ที่ให้การสนับสนุนการลงทุนของบริษัทฯ โดยเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย ซึ่งมีสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของ Data Center ในภูมิภาคได้ สามารถรองรับการขยายตัวของการใช้บริการ Cloud Services และเทคโนโลยี AI ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้ามากกว่า 1,000 รายจากทั่วโลก รวมทั้งพันธมิตรในอุตสาหกรรมมากกว่า 1,000 รายเช่นเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังพร้อมที่จะสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศของ Data Center ในไทย โดยเฉพาะด้านการพัฒนาดิจิทัลในอนาคต
โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
รัฐบาลไทย โดยผ่านทาง BOI พร้อมทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานหลักในการอำนวยความสะดวกด้านการขออนุญาตต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ที่เข้ามาลงทุนในไทย และได้รับการอนุมัติดำเนินการตามกระบวนการที่จำเป็นทั้งหมดก่อนเริ่มดำเนินการให้บริการ โดยบริษัทฯ พร้อมดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยและมีแนวทางที่จะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมปัจจัยการลงทุนควบคู่ด้วย โดยเน้นย้ำถึงการพัฒนาทักษะบุคลากรของไทยให้มีความพร้อมรองรับการทำงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะสร้างโอกาส สร้างอาชีพให้กับประชาชนมากขึ้น
ทั้งสองฝ่ายพร้อมส่งเสริมไทยสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลชั้นนำ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลไทยส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาบุคลากรในภาคดิจิทัล โดยนายกรัฐมนตรีนำเสนอถึง นโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power (One Family One Soft Power) เพื่อรองรับแรงงานทักษะสูง พร้อมกับส่งเสริมการพัฒนาทักษะ Upskill - Reskill ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำถึงการสนับสนุนบุคลากรไทยเพิ่มเติม พร้อมเชิญบริษัทฯ เข้ามาร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลให้กับมหาวิทยาลัยในไทย โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยบริษัทฯ พร้อมสนับสนุนคนรุ่นใหม่ผ่านการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และยินดีที่จะร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรและสถาบันการศึกษาของไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและทักษะดิจิทัลขั้นสูงให้แก่บุคลากรไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต
โดยประธานบริษัท GDS เชื่อมั่นในศักยภาพของไทย ซึ่งมีสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของ Data Center ในภูมิภาค และพร้อมสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศของ Data Center ในไทย โดยเฉพาะด้านการพัฒนาดิจิทัลในอนาคต
.
นายกฯ ย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมปัจจัยการลงทุนควบคู่ด้วย โดยเน้นย้ำถึงการพัฒนาทักษะบุคลากรของไทยให้มีความพร้อมรองรับการทำงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะสร้างโอกาส สร้างอาชีพให้กับประชาชนมากขึ้น
"ไทยเนื้อหอม! 9 เดือนแรกปี 67 ต่างชาติลงทุนในประเทศ 636 ราย มูลค่ากว่า 1.3 แสนล้านบาท"
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษก นร. เผยตัวเลขนักลงทุนต่างชาติสนใจมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น แสดงถึงศักยภาพของไทยที่ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ย. 67 (9 เดือน) มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 636 ราย แบ่งเป็น
.
- ลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 143 ราย
- ขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 493 ราย
.
การลงทุนดังกล่าว ก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุน 134,805 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทย จำนวน 2,505 คน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ปี 67 เพิ่มขึ้นจากปี 66 จำนวน 143 ราย คิดเป็นร้อยละ 29 และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 50,792 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60 โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ประกอบด้วย
.
- ญี่ปุ่น 157 ราย ร้อยละ 25 เงินลงทุน 74,091 ล้านบาท
- สิงคโปร์ 96 ราย ร้อยละ 15 เงินลงทุน 12,222 ล้านบาท
- จีน 89 ราย ร้อยละ 14 เงินลงทุน 11,981 ล้านบาท
- สหรัฐอเมริกา 86 ราย ร้อยละ 13 เงินลงทุน 4,147 ล้านบาท
- ฮ่องกง 46 ราย ร้อยละ 7 เงินลงทุน 14,116 ล้านบาท
.
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศคือ ธุรกิจ ‘แพลตฟอร์ม’ และ ‘ซอฟต์แวร์ มีสัดส่วนการลงทุนมูลค่า 28,397.26 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.27
.
เป้าหมายของรัฐบาลคือ “หาตลาดการลงทุนใหม่ รักษาตลาดเก่า ขยายการลงทุนให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากไทยมีประโยชน์ที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุน มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี วัตถุดิบเพียงพอ และมีอุตสาหกรรมที่พร้อมสนับสนุนแผนการลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนมั่นใจในศักยภาพของประเทศไทย
Comments