การค้า-อุตสาหกรรม
1 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ บริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด ณ โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GC Ms.Colleen May, President Cargill Bioindustry Mr. Richard Altice President and CEO Nartureworks และนายปรีชา อรรถวิภัชน์ ประธานกรรมการ KTIS ร่วมเปิดงาน
สำหรับการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพโพลิแลกติกแอซิด (Polylactic Acid หรือ PLA) แห่งที่ 2 ในพื้นที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ซึ่งก่อให้เกิดการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล นับว่าเป็นการจ้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค สอดรับกับการขยายตัวของตลาดพลาสติกชีวภาพที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค ที่หันมาใช้พลาสติกย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ Bioeconomy และ BCG model ของประเทศ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ตามแผนที่ได้วางไว้ ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตพลาสติกชีวภาพสามารถส่งออกไปต่างประเทศ สร้างเม็ดเงินกลับมายังประเทศได้ในอนาคต”
โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ดำเนินโครงการเป็น 2 ระยะ คือ โครงการระยะที่ 1 มูลค่าการลงทุน 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน โรงงานเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวัน (หรือประมาณ 186 ล้านลิตรต่อปี) และโรงงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลและไอน้ำความดันสูง กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 475 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองการเดินเครื่องจักร และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2566
สำหรับโครงการระยะที่ 2 มูลค่าการลงทุน 21,430 ล้านบาท โดยร่วมทุนกับบริษัท Natureworks LLC เพื่อผลิต Lactic Acid ซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ที่กำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี และเพื่อพัฒนาระบบผลิตไอน้ำ ผลิตน้ำอุตสาหกรรม และระบบบำบัดน้ำเสียให้กับโครงการของบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด คาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2567
コメント