กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม แถลงข่าวกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่ 31 มกราจคม 2565 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย ร่วมแถลงข่าว กรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล จังหวัดระยอง ร่วมกับพลเรือตรี อาทร ชะระภิญโญ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน นายพงษ์กรณ์ ช่อชูวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารระบบความปลอดภัยคุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวอนามัย นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายอาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 กรมควบคุมมลพิษ ดร. พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายธวัชชัย เจนการ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า เกาะเสม็ดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายธีรพล ประภากร นายกสมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ณ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
จากเหตุการณ์กรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ภายใต้แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ 2545 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและความรับผิดชอบทั้งภาครัฐและเอกชน ในการขจัดมลพิษทางน้ำและยกระดับเหตุน้ำมันรั่วในน่านน้ำ ให้เป็นเหตุการณ์รุนแรงระดับชาติ เพราะสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรและประชาชน ซึ่งตามแผน ได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เป็นผู้สั่งการสูงสุด มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน โดยแบ่งโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1. คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เป็นหน่วยงานสั่งการหลัก 2. กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จัดตั้งศูนย์ประสานงาน 3. กองทัพเรือ / กรมเจ้าท่า จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ 4. กองทัพเรือ / กรมเจ้าท่า / ส่วนราชการจังหวัด / กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำหน้าที่หน่วยปฏิบัติการ 5. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยสนับสนุน นั้น
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการขจัดคราบน้ำมัน เมื่อที่ 26 มกราคม 2565 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย ลงพื้นที่ร่วมประชุมประเมินสถานการณ์ ร่วมกับนายชาญนะเอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พล.ต.ต.วรา เวชชาภินันท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระยอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ท่าเทียบเรือตำบลบ้านเพ กรณีเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด ขณะทำการขนส่งน้ำมัน ในบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง จุดเกิดเหตุ คือ บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล (SPM) ละติจูด 12 องศา 29.3 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 11.76 ลิปดาตะวันออก ซึ่งเกิดเหตุเมื่อเวลา 21.06 น. ของวันที่ 25 มกราคม 2565 กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษ สมาคม IESG นำโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้บูรณาการปฏิบัติงานร่วมกันในการแก้ไขและยับยั้งการรั่วไหลแพร่กระจายของน้ำมันดิบ ไม่ให้แพร่กระจายไปยังชายหาด หรือบริเวณที่มีประชาชนอาศัยอยู่ เพื่อป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้เรือ 8 ลำ ฉีดพ่นน้ำยาขจัดคราบน้ำมัน มีการนำนำเฮลิคอปเตอร์บินขึ้นโปรยสาร Dispersant ลงบนพื้นผิวทะเล เพื่อเร่งขจัดคราบให้สลายตัวโดยเร็วที่สุด กรมเจ้าท่า โดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาระยอง มีการออกคำสั่งระงับใช้งานทุ่นเทียบเรือ Single Point Mooring (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด จนกว่าจะมีการแก้ไข ตรวจสอบความแข็งแรงมั่นคง และความพร้อมของท่อขนส่งน้ำมันใต้น้ำให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ 100%
และประกาศกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 4/2565 แจ้งเตือนให้ผู้เดินเรือระมัดระวังการเดินเรือ บริเวณทุ่นเทียบเรือ SPM จังหวัดระยอง ทั้งนี้ ทางบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด จะดำเนินการเร่งขจัดคราบน้ำมันให้แล้วเสร็จ ระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2565 กรมเจ้าท่า นำเรือตรวจการณ์ 804 ปฏิบัติการร่วมกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ในการใช้สาร dispersant ขจัดคราบน้ำมันไปแล้วประมาณ 7 หมื่นลิตร ซึ่งการใช้สาร dispersant จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมควบคุมมลพิษ ในการกำหนดปริมาณสารที่จะใช้ โดยจะใช้สารจุลินทรีย์ชีวภาพในการขจัดคราบน้ำมันร่วมด้วย เพื่อลดผลกระทบทางด้านระบบนิเวศทางทะเลไม่ให้มีการใช้สารเคมีในปริมาณที่มากเกินไปพร้อมกันนี้ได้ออกประกาศแจ้งเตือนให้ระมัดระวังการเดินเรือบริเวณทุ่นท่าเทียบเรือ SPM เจ้าท่าจังหวัดระยอง มีคำสั่งระงับการใช้งานทุ่นเทียบเรือ SINGLE POINT MOORING (SPM) จนกว่าจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จ
ในการดำเนินคดี ระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2564 กรมเจ้าท่า นำเรือตรวจการณ์ 804 ปฏิบัติการร่วมกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ในการใช้สาร dispersant ขจัดคราบน้ำมันไปแล้วประมาณ 7 หมื่นลิตร ซึ่งการใช้สาร dispersant จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมควบคุมมลพิษ ในการกำหนดปริมาณสารที่จะใช้ โดยจะใช้สารจุลินทรีย์ชีวภาพในการขจัดคราบน้ำมันร่วมด้วย เพื่อลดผลกระทบทางด้านระบบนิเวศทางทะเลไม่ให้มีการใช้สารเคมีในปริมาณที่มากเกินไป พร้อมกันนี้ได้ออกประกาศแจ้งเตือนให้ระมัดระวังการเดินเรือบริเวณทุ่นท่าเทียบเรือ SPM เจ้าท่าจังหวัดระยอง มีคำสั่งระงับการใช้งานทุ่นเทียบเรือ SINGLE POINT MOORING (SPM) จนกว่าจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ในการดำเนินคดี
วันที่ 30 มกราคม 2565 กรมเจ้าท่า นำเรือเด่นสุทธิพร้อมใช้ทุ่น 350 เมตร ล้อมกักน้ำมัน โดยบูรณาการร่วมภารกิจได้แก่ เรือเด่นสุทธิ และเรือแสมสาร ลากทุ่น เรือตรวจการณ์ 802 ลาดตระเวน เรือเรือตรวจการณ์ 804 ลาดตระเวนเรือชัยฟูรี่1 ลาดตระเวน- เรือ UNIWISE RAYONG บัญชาการ เรือศรีธาราลักษณ์ 8 และKNO103 ลากทุ่น เรือRS38 และSC DISCOVERYลากทุ่น เรือRS24 และเรือรุ่งนที5 ลากทุ่น เรือRS25 และเรือRS22 ลากทุ่นเรือTINDY2 และ เรือรุ่งนที 7 ลากทุ่น เรือFS9 และเรือธวัชชัยรวยทรัพย์ ลากทุ่นบริเวณหาดแม่พิมพ์ เรือFS4 ตรวจตราและสูบน้ำมันบริเวณหาดแม่พิมพ์
กรมเจ้าท่า ในฐานะผู้เสียหายในฐานความผิดของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) กรณีน้ำมันรั่วไหลจากทุ่นผูกเรือน้ำลึกหรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ได้เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีกับกรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) จนคดีถึงที่สุด โดยฐานความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตหรือต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ อันเป็นความผิดตามมาตรา 119 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2535 และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะร่วมประเมินความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อนแจ้งกรมเจ้าท่าดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของน้ำมันที่เข้าสู่ชายฝั่ง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ระบบนิเวศ การช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูนั้นจะได้ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น การท่องเที่ยว ชาวประมง หากมีจะดำเนินการเยียวยาตามความเสียหายที่เกิดจริง โดยจะมีหน่วยที่รับผิดชอบตอบข้อสอบถามความเสียหาย รวมถึงช่องทางการให้ผู้ได้รับผลกระทบร้องทุกข์ตามช่องทางที่จัดหาให้ต่อไป
Comments