นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันที่21 พฤษภาคม 67 ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กค. ได้หารือร่วมกับ สงป. เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ Digital Wallet ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 3,480,000 ล้านบาท สงป. ได้จัดสรรงบประมาณแล้วรวมทั้งสิ้น 3,457,941.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.37 โดยใช้จ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 1,749,963.43 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.61 ของงบประมาณที่จัดสรร ทำให้คงเหลืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับใช้จ่ายในระยะเวลา 5 เดือนที่เหลือไม่มาก
ดังนั้น การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการจัดทำพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงเป็นวิธีการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญ เช่น มุ่งเน้นดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อเติมเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง จัดทำงบประมาณเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวและส่งเสริมอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจให้สูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่บทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้
(อ่านมติครม.ประกอบ)
แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 เมษายน 2567) รับทราบและเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการ Digital Wallet) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. กค. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้หารือร่วมกับ สงป. เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำมาใช้ในการ ดำเนินโครงการ Digital Wallet ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีผลการประชุมหารือสรุปได้ ดังนี้
2.1 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 3,480,000 ล้านบาท ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 และ สงป. ได้จัดสรรงบประมาณแล้วรวมทั้งสิ้น 3,457,941.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.37 โดยใช้จ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 1,749,963.43 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.61 ของงบประมาณที่จัดสรร ทำให้คงเหลืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับใช้จ่ายในระยะเวลา 5 เดือนที่เหลือไม่มาก ประกอบกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกรมบัญชีกลางที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างรายการปีเดียวและเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2567 และสำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ควรก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567
2.2 การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการปรับลดงบประมาณจากหน่วยรับงบประมาณที่เบิกจ่ายไม่ทันหรือหมดความจำเป็นให้แก่หน่วยรับงบประมาณอื่น จะทำได้ผ่านพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณที่ได้จัดสรรไปแล้วและอาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ต้องหยุดชะงักและชะลอตัวลง เนื่องจากก่อนการจัดทำพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย หน่วยรับงบประมาณทุกหน่วยจะต้องชะลอการเบิกจ่าย การโอน หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรทุกกรณีจนกว่ากระบวนการพิจารณาการโอนงบประมาณจะแล้วเสร็จ (คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน) ดังนั้น การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยการจัดทำพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงเป็นวิธีการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ
3. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
3.1 แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
3.1.1 มุ่งเน้นดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อเติมเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง กระจายไปทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจถึงฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.2 จัดทำงบประมาณเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวและส่งเสริมอัตรา การขยายตัวของเศรษฐกิจให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยและอัตราการขยายตัวตามศักยภาพโดยมุ่งเน้นการสร้างรายได้ ขยายโอกาส ดูแลคุณภาพชีวิตและความมั่นคง ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสวัสดิการที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการภาครัฐโดยการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือแนวปฏิบัติใหม่ ๆ ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการ
3.1.3 ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 กฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีอย่างครบถ้วน
3.2 ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่บทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้
ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
วัน/เดือน/ปี | ขั้นตอนและกิจกรรม |
การทบทวนและวางแผนงบประมาณ | |
(1) 21 พฤษภาคม 2567 (ข้อเสนอในครั้งนี้) | คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบปฏิทินงบประมาณและ แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 |
(2) 23 - 27 พฤษภาคม 2567
28 พฤษภาคม 2567
| (2.1) คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐปรับปรุง แผนการคลังระยะปานกลาง และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (2.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุง แผนการคลังระยะปานกลาง |
(3) 29 - 31 พฤษภาคม 2567
4 มิถุนายน 2567 | (3.1) กค. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทยและ สงป. ร่วมกันทบทวนการประมาณการรายได้ กำหนดนโยบาย กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (3.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบาย วงเงินงบประมาณรายจ่ายและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 |
การจัดทำงบประมาณ | |
(4) 5 - 6 มิถุนายน 2567 | หน่วยรับงบประมาณจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่แสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและเแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยรับงบประมาณ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน โครงสร้างงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาล 142 ประเด็น ความต้องการของประชาชน รวมทั้งนำรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณเพื่อใช้ประกอบการจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณเสนอนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบและส่ง สงป. ในรูปแบบเอกสารและผ่านระบบ e - Budgeting ภายในวันที่ 6 มิถุนายน 2567 |
(5) 7 - 11 มิถุนายน 2567
18 มิถุนายน 2567 | ( 5.1) สงป. พิจารณารายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (5.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมอบให้ สงป. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 |
(6) 19 - 25 มิถุนายน 2567
2 กรกฎาคม 2567 | (6.1) สงป. ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (6.2) คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 และให้ สงป. จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ |
(7) 3 - 5 กรกฎาคม 2567
9 กรกฎาคม 2567 | (7.1) สงป. ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ (7.2) คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบงบประมาณ และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร |
การอนุมัติงบประมาณ | |
(8) 17 - 18 กรกฎาคม 2567 | สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 1 |
(9) 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 | สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 2 - 3 |
(10) 6 สิงหาคม 2567 | วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 |
(11) 13 สิงหาคม 2567 | สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป |
Opmerkingen