แต่เป้าหมายใหญ่”นโยบายคลัง-การเงิน”ต้องทำงานร่วมกันประเทศ จึงจะไปรอด!!!
Monday Analysis
"ส่วนตัวเข้าใจในความอิสระของแบงก์ชาติ มั่นใจว่าทำงานร่วมกันและให้เกียรติมาโดยตลอด เมื่อมีข้อเรียกร้องจึงได้เรียกร้อง เมื่อต้องพูดคุยก็พูดคุยกับเรื่องดอกเบี้ยที่เห็นว่าควรต้องปรับลดลง แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีเหตุผลที่จะไม่ปรับลด"คือส่วนหนึ่งในการให้ความเห็นกับสื่อมวลชนของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อ 5 พ.ค.2567
““แบงก์ชาติ ไม่ใช่องค์กร หรือสถาบันที่ประชาชน จะกล่าวถึงหรือ “วิพากษ์ วิจารณ์” หรือ “แตะต้อง” ไม่ได้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้สื่อสารกับสังคมถึงกรณีแบงก์ชาติในวันประชุมของพรรคที่ผ่านมา
สำหรับผมคือการแสดงออกอย่างเปิดเผย จริงใจ และห่วงใยที่แบงก์ชาติยังยืนยันที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้อย่างเดิมโดยไม่พิจารณาถึงผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งประชาชน ที่เป็นลูกหนี้แบงก์และประชาชนทั่วๆ ไป กำลังเผชิญชีวิต ดิ้นรนอยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่กำลังซ้ำเติมชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างแสนสาหัส” ความเห็นนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์เมื่อ5 พค.2567
ขณะมุมมองจากนักเศรษศาสตร์อาวุโส "ดร.กิตติ ลิ่มสกุล" ฟันธง!อุ๊งอิ๊งค์ -นางสาวแพทองธาร ชินวัตร อธิบายบทบาทธปท.ในชั้นของปริมาณวิเคราะห์ในระดับชั้นปริญญาโท ซึ่งมองแบบ ex post คือดูกลไกที่เป็นอุปสรรคการขับเคลื่อน ส่วนข้อโต้แย้งเป็นการมองแบบแยกส่วน(partial analysis)ในวิชา Econ 101 ทุกอย่าง เป็นการมองแบบ Ex ante คือมองเป็นส่วนๆ ดอกเบี้ย-หนี้ครัวเรือน-หนี้สาธารณะ แต่เป้าหมายใหญ่”นโยบายคลัง-การเงิน”ต้องทำงานร่วมกันประเทศจึงจะไปรอด!!! ลองไปติดตาม
"ผมมองว่า คุณอุ๊งอิ๊งค์ พูดวันนั้น แบบex post คือ ดูกลไกทุกอย่างที่มีผลต่อหนี้สาธารณะ ในท้ายสุดว่าเกิดผลอะไร แบบปริญญาโทสายปริมาณวิเคราะห์
ส่วนคนที่มีการออกมาวิจารณ์พูดวิเคราะห์แบบ Ex ante คือเป็นส่วนๆ ดอกเบี้ย-หนี้ครัวเรือน และ หนี้ สาธารณะ แยกส่วน partial analysis แบบ Econ 101 ในชั้นปริญญาตรี น่าฟัง และ นึกว่า สิ้นสุดทางแต่ไม่ใช่ !"
ดร.กิตติ อธิบายเพิ่มเติมว่า ระบบเศรษฐกิจ เป็นการผสมปนเปของพลัง และองค์ประกอบด้านอุปทาน การผลิต และ เทคโนโลยี ใช้แรงงาน ทุน ผลิตสินค้า และบริการ ร่วมกับพลังด้านอุปสงค์ การบริโภคครัวเรือน การใช้จ่ายรัฐบาล การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง … ดังนั้น ราคาทั่วไป และ ดอกเบี้ย คือ สมดุลในตลาด ผลิตผล (real sector) และตลาดเงิน (money market) ที่สร้างดุลยภาพ และ เสถียรภาพ ภายใน/ภายนอก ตามที่ ธปทมักอ้างเป็นเป้าหมาย ทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
"หัวหน้าพรรคเพื่อไทย มีประเด็น แต่ยิงตรงไปที่กฏหมายที่รองรับความอิสระที่เปรียบเหมือน #เกาะอิสระ แต่อย่าลืมว่า ธปท ยังอยู่ในน่านน้ำไทยนะครับ ภายใต้อธิปไตยไทย และรัฐบาลไทย ที่ต้องรายงาน รับใช้ต่อสาธารณะ และประชาชน ธปท จึงเป็นเกาะอิสระในทางบริหารเกาะ แต่ยังต้องรักษาระบบน่านน้ำไทย ตามภาระต่อประชาชน และประชาธิปไตย"
นักวิชาการอิสระ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยไซทะมะ ญี่ปุ่น เสนอว่า อยากให้ ธปท. ทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด
ช่วยกำกับนโยบายการเงิน และ การกำกับดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพ( ต้นทุนการเงิน เหมาะสม ไม่มีกำไรส่วนเกิน) และรักษาเสถียรภาพภายใน (อัตราเงินเฟ้อ core inf ต่ำกว่าขอบเขตต่ำสุด ที่ สัญญาจนระบบเศรษฐกิจฝืดเคือง ธุรกิจกำลังแย่มากๆ ) เพราะธปท.ต้องการรักษาเสถียรภาพภายนอก ( เงินทุนไหลออก เนื่องจากช่องว่างระหว่างดอกเบี้ย บาท ดอลลาร์ และ อัตราแลกเปลี่ยนที่ท่านคุมไม่ได้ อีกแล้ว แม้จัดการแทรกแซงได้บ้าง แต่ภาพปี 1997 ต้มยำกุ้ง คงยังหลอกหลอนท่านอยู่หรือไม่)
"ในทางทฤษฎี ท่านช่วยแก้ข้อกล่าวหาด้วย จะทำให้ประชาชนเข้าใจท่านมากกว่านี้ ไม่ใช่อ้างแต่การเป็นเกาะอิสระ เพราะยามธปท. ผิดพลาด ยังต้องถูกปกป้องจากประชาชนผ่านรัฐบาล ประชาธิปไตย และภาระหนี้ สาธารณะเหมือนครั้งต้มยำกุ้ง ที่ประชาชาชนต้องจ่าย ภาษีอุ้มเกาะท่านไม่ให้จมเพราะเรือปืนต่างชาติ
ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น ผมเสนอว่านโยบายการเงินกับนโยบายการคลังจะต้องทำงานกันแบบสมานฉันท์ เพื่อช่วยกันพยุงเศรษฐกิจของไทยให้รอด เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน ซึ่งก็เป็นเป้าหมายที่ทุกคนอยากเห็นภาพร่วมกัน ถึงเวลาหรือยังที่ควรจะสมานฉันท์ของขาการเงิน ขาการคลังเพื่อสร้างพลังผลักดันเศรษฐกิจไทย โดยไม่ปล่อยขาใดขาหนึ่งขับเคลื่อนโดยลำพัง" ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการมหาวิทยาลัย ไซทะมะ ญี่ปุ่น
Comments