top of page

"ดร.กิตติ"กางแบบจำลอง พยากรณ์ แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของไทยQ1-4/2567เจาะลึกอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรายไตรมาส

Saturday Analysis

By Dr.Kitti Limsakul

"ดร.กิตติ ลิ่มสกุล"   นักวิชาการ อิสระ และ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยไซทะมะ ประเทศญี่ปุ่น พยากรณ์แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของไทย Q1-4/2567 แบบเจาะลึก!!!


 โดยพยากรณ์ อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวประชาชาติ รายไตรมาส (Q1-4 2024) ด้วยแบบจำลองวัฏจักรธุรกิจ


-ผลการพยากรณ์ การขยายตัว-หดตัวของมหภาคเศรษฐกิจประเทศไทยไตรมาสที่1-4 ของปี 2024 (Q1-4/20204) (Quarterly GDP in constant price of 2000) พบว่า เศรษฐกิจไทย ขยายตัวร้อยละ 0.5 (Q1/2024) 2.4 (Q2/2024) 2.1 (Q3/2024) 0.6 (Q4/20)

-อันเป็นผลของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา  แม้มีการฟื้นตัวไม่เต็มที่ของ ประเทศในยุโรป อียู  ในขณะที่ ญี่ปุ่น อาจไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่ตั้งใจไว้

 

 -เศรษฐกิจประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับผลกระทบจากปัญหา การถดถอยรุนแรง หลังจาก COVID -19

  ปัญหาหนี้สินของภาคอสังหาริมทรัพย์ ข้อพิพาททางการค้า การที่ สหรัฐฯ ขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าส่งออกสำคัญโดยเฉพาะ EV ฯลฯ ของจีน เศรษฐกิจ จีน ยังแข็งแกร่งและ ไม่ได้รับผลกระทบจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน สงครามในตะวันออกกลาง  นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยสามารถพยุงตัวไปได้ในปี 2024


ข้อเสนอมาตรการรับมือ

นโยบาย ระยะสั้น

1)  ประสานนโนยายการคลัง เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (G) เข้ากับนโยบาบการเงิน (การเข้าถึงเครดิต ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม โดย ใช้เครื่องมือ การลดความเสี่ยง โดยตลาดการประกันความเสี่ยง ที่นำโดยเครื่องมือทางการคลัง 

2)  การปรับ นโยบายการกำกับระบบสถาบันการเงิน  เพิ่มอำนาจตลาด ในการต่อรองเรื่อง อัตราดอกเบี้ยกู้-ฝาก ให้ NIM ratio (Net Interest Margin –Ratio)  มีอัตราที่เหมาะสม เทียบกับประเทศ    สิงค์โปร์  โดยการเพิ่มผู้ให้บริการ ในตลาด ลดอัตราความเสี่ยง ของผู้กู้ โดยใช้ ระบบ AI สมัยใหม่ ในการประเมิน

3) กระทรวงการคลังและ ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาผลได้-ต้นทุน และความเป็นไปได้ในการนำ CBDC  ของไทย รองรับ การนำเสนอ เงินดิจิทัลหยวน ของประเทศจีน (ฮ่องกง)

4) เปิดเผยสภานะภาพของ กองทุนต่างๆ ทั้ง ในระบบการคลัง และ ธนาคาร เพื่อประเมิน สภานภาพของความมั่นคงของระบบการเงิน-การคลัง 


นโยบาย ระยะยาว

1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ กว่า ศักยภาพของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระยะยาว ที่ ร้องละ ๕ ต่อปี จึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยนโยบายการคลัง โดยเฉพาะ การลงทุนภาครัฐ ฯ การโน้มน้าวให้ มีการลงทุนภาคเอกชน ในการสร้างสินค้าทุนใหม่ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

2) การปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และบริการ ด้วยการปรับเทคโนโลยี สมัยใหม่ ได้ แก่ BCG สำหรับภาคเกษตร  IoT AI เพื่อการกำกับ Machine Learning and Automation ตลอดจนการใช้ Marketing Platform เพื่อ เชื่อมโยงการผลิต สู่การตลาด ผู้บริโภค และ การนำเสนอ Green Technology สำหรับ การให้ บริการ ในภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว

3) การสร้างเครือข่ายการฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ การผลักดัน ทักษะ การผลิต ของแรงงาน ใน ภาค เกษตร อุตสาหกรรม และบริการ เพื่อ นำทางให้ ประชากรไทยที่ กำลังเข้าสู่ สูงวัย สามารถทำงานต่อเนื่องในตลาดแรงงาน ทั้งในภาคเกษตร และ ภาคบริการ สาธารณะ ฯลฯ


เพื่อให้เจาะลึกถึงแบบจำลองเศรษฐกิจข้างต้น..ไปตามแบบเจาะลึกการวิเคราะห์ครั้งนี้!!!!


















โดย

CLOSE-UP THAILAND

:สื่อเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page