top of page

"ดร.กิตติ"ตอบ3ประเด็นร้อนเศรษฐกิจหมอศิริโรจน์-ยืนยันดิจิตอลวอลเลตไม่ได้เอื้อ7-Eleven แต่ช่วยกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นอีกครั้ง

ในขณะที่หน้าเศรษฐกิจ-การเงิน นสพ.กรุงเทพธุรกิจพาดหัวใหญ่ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการฟ้องบังคับคดีจำนวนสูงกว่า 15 ล้านล้านบาทโดยอ้างแหล่งข่าวจากเครดิตบูโร


ขณะนสพ.ประชาชาติธุรกิจวันเดียวกัน พาดหัวใหญ่ "วิกฤติหนี้เสียรถ-บ้านลาม ดอกเบี้ยสูงซ้ำเติมครัวเรือนกระอัก"


จึงมีบุคคลใช้นามว่า หมอศิริโรจน์ ลุกขึ้นมาตั้ง 3 คำถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ซึ่ง ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของไทยได้เข้าไปตอบ ลองไปติดตาม



"3คำถามหมอศิริโรจน์"


-เรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจ เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ใช่หรือไม่

-การดำเนินการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจ หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องมี ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกำลังมีนโยบายการแก้ไขที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ใช่หรือไม่

-การกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการแจกเงิน เพราะประชาชนหมดกำลังซื้อ หรือไม่ แล้วเม็ดเงินหายไปไหน


ผมไม่ได้เรียนมาครับ แค่ถามด้วยความสงสัย ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงิน เม็ดเงินส่วนใหญ่จะไหลไปสู่เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ เพราะชาวบ้านเอาไปซื้อของไม่จำเป็น ส่วนน้อยเท่านั้นที่จะไปอุดหนุนชาวบ้านกันเอง แต่ก็จำเป็นต้องทำ ดีกว่าให้เศรษฐกิจประเทศถอยลงไปเรื่อยๆ ผมเข้าใจถูกไหมครับ



"คำตอบ โดย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล"


ท่าน นพ ศิริโรจน์ ครับ


1. ธปท มี วิธี คิด ที่ มี หลักวิชา มาตรฐาน แต่ น่าจะ มี อะไร ที่ ติดขัด เรื่อง การ ดำเนิน นโยบาย การเงิน ให้ สอด ประสานการคลัง ถ้า policy mixed ไป ไม่ ได้ แบบ ที่เป็น ขณะนี้ เศรษฐกิจ ไทย หยุด ชะงัก จึงอยาก ให้ ธปท อธิบาย ให้ โปร่งใส กว่า ที่แถลง


2. นโยบาย การเงินและ คลัง ในยาม ที่ ศก ถดถอย มาก ต้อง มีการ ใช้ เครื่อง มือ การคลัง

เช่น ลดภาษี หรือ เพิ่ม การ ใช้จ่าย รัฐบาลการเพิ่ม การโอน ให้ ประชาชน มีกำลังซื้อ ไม่ มี อะไร ผิด ปรกติ ครับ พร้อมๆ กับ

นโยบาย การเงินต้อง ขยายขนาดของ ปริมาณ เงินหรือ ลด ดอกเบี้ย ชี้นำ เป็นเรื่อง ปรกติ แต่ขณะนี้ ธปท กลัว ว่า หาก ลดดอกเบี้ย จะเกิด ช่องว่างระหว่างดอก เบี้ย เงินบาท - ดอลลาร์ ทำ ให้ เงินทุนไหลออก แต่ข้อ เท็จจริงคือ ไทย มี เงินเฟ้อติดลบ หรือ เงินฝืดจึงควรกระตุ้น ทางการคลัง และ พร้อม กับ การลดดอกเบี้ย ชี้นำ เนื่ิองจาก เศรษฐกิจไทย หดตัว และ มีแนวโน้มหดตัว มากขึ้น คนตกงาน ไม่มี รายได้ ธุรกิจขายของไม่ดี ขาด ทุน


3. การ กระตุ้น และโอนเงิน ให้ ครัวเรือน ทำ ทั่วไป ในโลก ยุคเศรษฐกิจ ตลาด ที่ รัฐบาลต้อง แทรกแซงบ้าง และ เงินไหลไปใหน มันคือ น้ำมันหล่อเลี้ยง ศก ใหญ่เล็ก นโยบายนี้ ไม่ ใช่ นโยบาย เพื่อ แก้ ปัญหาที่ กัน ราย ใหญ่ ออกจาก เล็ก เพราะ ทุก อย่างเชื่อมกัน ครับ

7-11 ขาย ของ เช่น ข้าว หมูทอด หรือ สบู่ ยา สีฟัน ให้ ลูกค้า ก็ต้องสั่งจากโรงงาน ที่ มี ทั้ง เล็ก ใหญ่ ที่จ้าง แรงงาน จาก ครัวเรือน คน ชั้น แรงงาน ชั้น กลางเช่นกัน มิควรแบ่งแยก จน รวย


4. นโยบาย ยกระดับ จน ให้ ดีขึ้นต้อง ใ้ช้การศึกษา และ สาธารณะสุข ตลอด จน ภาษี มรดกทรัพย์สิน ซึ่ง ยัง ต่ำ เพื่อ ส่งเสริม ให้ คน ครัวเรือน สะสม ทุน เพื่อ การลงทุน เราเป็น ระบบ ตลาด แม้ มีความ ไม่เท่าเทียม หลายด้าน แต่ วิธีแก้ ไม่ ใช่ แยก การโอน สู่คนรายได้ น้อยจาก คนรายได้กลาง รวย แต่ เป็น

การเก็บภาษี ทรัพย์สิน ซึ่งยัง ทำได้ ยาก ในทางปฏิบัติ เพราะ สุด ท้ายหาก เก็บ จาก ทรัพย์สิน ครัวเรือน ก็ มีการผลัก ภาระภาษี ให้ คน จน และ ยิ่งกว่านี้ คนรวย อาจมีช่ิองหนีภาษี เก่งกว่า ครับ ลองดูถ้าเก็บภาษี บ้าน ที่ดิน สูง สุด ท้าย คนชั้นกลางรับภาระ มาก


5. สรุป สิ่ง ที่เห็น ว่าควร เกื้อ หนุน คน รายได้ น้อย สุด ท้าย เขา กลับ ตกงาน และ เสียประโยชน์ จึงต้อง คิด รอบครอบ

ธปท ไม่ มี เครื่องมือ ทางการกำกับ ธพ ให้ ลด ดอก ดอกเบี้ย กู้ ที่ สูงกว่า ฝาก เพราะ ไม่ มี Financial Supervisory Agency ที่แยก การกำกับ ธพ ออก จาก นโยบาย การเงิน (ดอกเบี้ย และ ปริมาณเงิน) ทำ ให้ เกิด รายได้ ก่อนหักภาษี ระบบ ธพ ปี 2566 กว่า สองแสนล้านบาท ซึ่ง มากเกินกว่า ธุรกิจ อื่นๆ ที่ ยาก ลำบาก ทำได้ และ ไม่ มี อำนาจเหนือ ตลาด เหมือน ธพ


ดร กิตติ ลิ่มสกุล

14 กพ 2567



Comentarios


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page