top of page

"ดร.กิตติ"ฝากโจทย์ร้อน!!!ถึงผู้ว่าแบงก์ชาติ

  • รูปภาพนักเขียน: Close Up Thailand
    Close Up Thailand
  • 10 ก.ย. 2567
  • ยาว 1 นาที

บทความพิเศษ

โดย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล


"ตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งปรเทศไทยก่อนหน้า คือ!!!

1. ธปท.เสนอเป้าเงินเฟ้อฐาน ไม่รวมราคาน้ำมัน และโภคภัณฑ์อาหารที่ถูกกำหนดโดยตลาดโลก

ง่าย ๆ คือ ต้องการกำหนด เป้าหมายเงินเฟ้อ ที่เกิดจาก Aggregate D-S คือ

Excess Demand corresponding =[ AD-AS]*P<0 ในรูป เมตริก ของระบบ


ถ้าอุปสงค์ AD เกินกว่าอุปทาน AS ราคา P ปรับขึ้น

ถ้าอุปทานมากกว่าอุปสงค์ราคาปรับลดแต่ยังเป็นบวก(ราคาไม่ติดลบ)


โดยธปท. สัญญาว่า  เป้าหมายเงินเฟ้อ = 1.0-3.0 % pa หรือค่ากลาง 2.0 % (สหรัฐอเมริกาก็ถือเช่นนี้)

เท่าที่ดูข้อมูล ค่าเฉลี่ยตลอด 20 ปีอยู่ที่ 2% pa อย่างน่า พิศวง !!!

แสดงว่า ธปท.ทำหน้าที่ตรงตามที่สัญญาในระะยาว ยกเว้นปัจจุบันที่มีความแปลกแยกมาก ?


เท่าที่เข้าใจ ธปท.ไม่สามารถทำตามสัญญา เงินเฟ้อฐานต่ำ ติดขอบล่าง ธปท. อ้างว่า รัฐสนับสนุนราคาพลังงาน?

ทั้งที่ ราคาพลังงานไม่อยู่ในเงินเฟ้อฐาน?


ปัจจุบัน ธปท. เห็นสัญญาณแล้วว่าครึ่งแรก ปี 2567 เศรษฐกิจไทยเข้าสู่การถดถอย gr ต่ำกว่าศักยภาพ มาก


ทั้งปี คาด actual 2.8 << 4.0 (potential) for 67

( gr ที่ศักภาพ คือ ประเทศสามารถ service หนี้ FIDF คงเหลือ ห้า -หกแสนล้าน โดยจ่าย ดอกเบี้ยที่ 2% =? Or more )


ธปท. ฝ่ายวิชาการเข้าใจที่อธิบาย เพราะเรียนตำราเดียวกัน เช่น New Keynesian /RBC/DSGE …

แต่ผู้ว่าการ และ his MPC สมาขิกเรียนมาอย่างไร ? น่าจะเข้าใจที่กล่าว แต่ทำไมไม่สามารถชี้นำสิ่งที่ เป็นมาตรฐานวิชา ?


MPC คิดว่า policy rate 2.5 % ไทยมีช่องห่างจาก US ที่ 5.25 น่าจะไม่ทำให้เงินไหลออกและอัตราแลกเปลี่ยน B/$ อ่อนแต่จริงๆ แล้วตลาดอัตราแลกเปลี่ยน มันขึ้นกับระบบอุปสงค์ อุปทาน ขนาดใหญ่ ของโลก หลายตลาดสัมพันธ์กันไม่ใช่เรื่อง แค่ที่ธปท MPC อ้าง

(ซึ่งการใช้เป้าหมายเงินเฟ้อตามข้างต้น จะ volatile น้อยกว่าหากใช้ exch rate targeting)


กระนั้น ผู้ว่าธปท. และ MPC กลับใช้  เป้าหมายเงินเฟ้อ และ policyrate gap ที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎีที่เข้าใจง่ายๆ ในหมู่ผู้เรียนมา กลับดื้อดึงที่ไม่ยอมลดดอกเบี้ยนโยบาย ?


ในขณะที่ ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังปรับ policy rates ลงเพื่อพยุงเศรษกิจแล้วธปท MPC ค่อยๆ ลด อัตรา หรือ ?

มันคือการผูกนโยบายเศรฐกิจมหภาคไทยไว้ ที่ความผันผวนของ สรอ.มากเกินไปเราอาจเป็นเมืองขึ้น ทางเศรษฐกิจ!


ด้วยธปท ให้อัตราเงินเฟ้อฐานที่ต่ำ การไม่ยอมให้ปริมาณเงินเพิ่มตามธรรมชาติ อัตราแลกเปลี่ยแข็งขึ้น การไม่ยอมปรับดอกเบี้ยนโยบายลง ส่งผลให้ MMR ไม่ตอบสนองต่ออุปสงค์ต่อเครดิตของธุรกิจ จากธนาคาร และ ส่งผลให้ดอกเบี้ยกู้ ยังสูงเกินกว่าศักยภาพในการทำกำไรจากการลงทุน และการประกอบการ


ในขณะที่ช่องว่าง ดอกเบี้ยฝากที่ต่ำติดดิน ดอกเบี้ยกู้ที่สูง ประชาชนและ ธุรกิจ ยังไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ในระบบได้ ผลคือ loan shark เฟื่องฟู แม้มี non bank ช่วยแล้ว


กล่าวโดยสรุป!!!

1. ธปท mpc ดำเนินนโยบายการเงิน ที่ไม่รับผิดชอบ ต่อข้อเท็จจริงทางเศรฐกิจมหภาค

2.การดื้อดึง และอ้างว่าอุปสงค์ ส่วนบริโภคยังขยายตัว ทำให้ งง มากว่า แล้วการลงทุนรัฐ เอกชน การส่งออกสุทธิ และเสถียรภาพราคาที่พอเหมาะ ดอกเบี้ยที่ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย … เป้านี้ ไม่รับผิดชอบเลย? โยนให้ฝั่งการคลังหรือครับ???


3. ขอให้สาธารณชน ผู้รู้ ถกเถียงข้อเท็จจริง ทางวิขาการด้วย เพื่อกดดันให้ธปท และ MPCเดินตรงทางและสะท้อนภาพความเป็นจริงที่กำลังเผชิญ!!!!



ดร กิตติ ลิ่มสกุล

นักวิชาการ พรรคเพื่อไทย

อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยไซทะมะ ประเทศญี่ปุ่น



Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page