และในรายงานชิ้นนี้ "ผู้ว่าพาไปเที่ยว” แบบพิเศษ กับคนพิเศษ 1 day trip เพราะขบวนนี้ เพื่อผู้ด้อยโอกาส!
ด้วยเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ผ่านทางรถไฟ และร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ได้มีกิจกรรม และโปรแกรมนำเที่ยวในรอบปี แทบจะเรียกว่า เกือบทุกเดือนเลยทีเดียว ทั้งการจัดเดินขบวนรถนำเที่ยวพิเศษใน 6 โอกาสพิเศษ และวันสำคัญของทุกปี และการท่องเที่ยว แบบเช้าไป -เย็นกลับ หรือ1 day Trip
เริ่มต้น เราจะพาไปตามรอยเส้นทาง หัวรถจักรไอน้ำพาเที่ยว ใน“ขบวนรถนำเที่ยวพิเศษใน 6 โอกาสพิเศษ” ไปที่ไหนกันบ้าง? และแต่ละแห่งผู้ร่วมขบวนฯ จะได้สัมผัสกับอะไร?
อย่ารอช้าตามกันไปเล้ยย...!!!!!
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำหัวรถจักรไอน้ำแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยบริษัท นิปปอน ชาร์เรียว ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาและซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี นำมาจัดเดินขบวนรถนำเที่ยวพิเศษใน 6 โอกาสพิเศษและวันสำคัญของทุกปี ประกอบด้วย
1. วันที่ 5 ธันวาคม วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เส้นทางกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ
2. วันที่ 26 มีนาคม วันสถาปนากิจการรถไฟ เส้นทางกรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ
3. วันที่ 3 มิถุนายน วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เส้นทางกรุเทพ – นครปฐม – กรุงเทพ
4. วันที่ 28 กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เส้นทางกรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ
5. วันที่ 12 สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เส้นทางกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ
6. วันที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช เส้นทางกรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ
“การจัดกิจกรรม เดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาสุดมิได้...”
นั่น คือเป้าหมาย และที่มากิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นแต่ละครั้งซึ่งนายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทยมาแชร์เรื่องราวให้รับทราบกัน
“ตามรอยเส้นทาง วันพ่อ”
เส้นทางกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ
เรามาเริ่มทริปแรก!!!
5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และรัฐบาลยังได้กำหนดให้เป็นวันชาติ วันศูนย์รวมจิตใจความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ และวันพ่อแห่งชาติ การรถไฟฯ จึงได้จัดกิจกรรม จัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาสุดมิได้
โดยในวันนี้ ขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ ขบวนที่ 903/904 จะออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 08.10 น. ถึงสถานีฉะเชิงเทราเวลา 09.50 น. นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดฉะเชิงเทราได้ตามอัธยาศัยประมาณ 6 ชั่วโมง อาทิ กราบสักการะหลวงพ่อพระพุทธโสธร พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ไหว้ขอพรพระพิฆเนศวัดสมานรัตนาราม เดินชม ช้อปสินค้าที่ตลาดบ้านใหม่ จากนั้นขบวนรถเที่ยวกลับออกจากสถานีฉะเชิงเทรา เวลา 16.30 น. ถึงกรุงเทพ เวลา 18.10 น. โดยมีสถานีที่หยุดรับ - ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีมักกะสัน คลองตัน หัวหมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงตามสถานีดังกล่าว ขณะเดียวกันยังขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา สามารถร่วมบันทึกภาพหัวรถจักรไอน้ำในเส้นทางที่ขบวนรถวิ่งผ่านได้ตลอดเส้นทาง
ตามรอยเส้นทางเที่ยว
”วันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ”
สาย กรุงเทพ - อยุธยา – กรุงเทพฯ
วันการรถไฟ!!!26 มีนาคม ของทุกปี
โดยในโอกาสสำคัญ วันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟทุกปี การรถไฟ ได้นำหัวรถจักรไอน้ำแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลก พาเที่ยวย้อนรอยประวัติศาสตร์ สาย กรุงเทพ - อยุธยา – กรุงเทพฯ
“การจัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา เพื่อย้อนอดีตบนเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพ - สถานีกรุงเก่า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439…”ความสำคัญและความหมาย เพราะเหตุใดจึงต้องพาย้อนรอยกันที่นี้ โดยผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือรฟท.
และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟครบรอบ 126 ปี
วันที่ 26 มีนาคม 2566 ที่สถานีรถไฟอยุธยา ประชาชนจำนวนมาก เดินทางเข้าถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับขบวนรถจักรไอน้ำนำเที่ยว ขบวนพิเศษ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟครบรอบ 126 ปี วันที่ 26 มีนาคม 2566 โดยการรถไฟฯ ได้จัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพ–อยุธยา พร้อมกับเปิดโอกาสให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ได้ร่วมเดินทางย้อนอดีตบนเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ และร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพ - สถานีกรุงเก่า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439
สำหรับการจัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยวประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ การรถไฟฯ ได้นำหัวรถจักรไอน้ำ รุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยบริษัท นิปปอน ชาร์เรียว จำกัด ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาและซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรีมาให้บริการลากจูง ในขบวนที่ 901/902
ตามกำหนดรถจักรไอน้ำนำเที่ยวประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา – กรุงเทพฯ ออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 08.10 น. ถึงสถานีอยุธยา เวลา 10.20 น. นักท่องเที่ยวมีเวลาเดินทางไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และท่องเที่ยวโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หรือร้านอาหารแบบผสมผสานกับบรรยากาศของความเป็นเมืองเก่าประมาณ 6 ชั่วโมง และเดินทางกลับออกจากสถานีอยุธยา เวลา 16.40 น. ถึงกรุงเทพ เวลา 18.55 น.
ครบรอบ 126 ปี วันที่ 26 มีนาคม 2566 ....!!!
พิเศษ!!!สุด สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางทริปปีนี้ รฟท. ร่วมกับ ททท.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฟรี!! เพียงแสดงตั๋วโดยสารรถไฟที่จุดลงทะเบียนบริเวณทางเข้าอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
และพิเศษกว่าใคร นักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปกับขบวนรถ KIHA183 ในเส้นทางกรุงเทพ-อยุธยา สัมผัสมนต์เสน่ห์กรุงเก่า เมืองหลวงยุค "ออเจ้า" ที่รุ่งเรืองของไทย ด้วยขบวนรถไฟจากฮอกไกโดอีกด้วย
ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์
วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สาย กรุงเทพ - อยุธยา – กรุงเทพฯ
และวันที่ 28 กรกฎาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความสำคัญ การเปิดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน ได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเดินทางของรถไฟไทย ผ่านขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เปิดนักท่องเที่ยวเดินทางไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และท่องเที่ยวโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และอุดหนุนสินค้าในชุมชน
“รฟท. คาดหวังการเปิดเดินขบวนรถพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ สร้างความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจฐานราก และชุมชนให้กลับมามีความเข้มแข็งยั่งยืนอีกครั้ง..” สิ่งที่ได้นอกเหนือจากความภูมิใจกับประวัติศาสตร์ และอิ่มใจจากการทำบุญ คือการได้ช่วยเศรษฐกิจในชุมชนพร้อมๆกันด้วย
ตามขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว
“วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา”
เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครปฐม-กรุงเทพ
และเนื่องในวันที่ 3 มิถุนายน ตรงกับวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี การรถไฟฯ ได้จัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพณ-นครปฐม พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงสร้างประโยชน์สุขต่อประชาชนและประเทศชาติตลอดมา
สำหรับขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพฯ-นครปฐม-กรุงเทพฯ เดินทางออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตั้งแต่เวลา 08.10 น. ถึงสถานีนครปฐม เวลา 10.10 น. ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไหว้พระปฐมเจดีย์ แลนด์มาร์กของจังหวัดนครปฐม และท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครปฐม ประมาณ 6 ชั่วโมง จากนั้นเที่ยวกลับออกจากสถานีนครปฐม เวลา 16.30 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.30 น.
โดยมีสถานีที่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีสามเสน บางซื่อ บางบำหรุ ศาลายา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงตามสถานีดังกล่าว ขณะเดียวกันยังขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครปฐม สามารถร่วมบันทึกความทรงจำในเส้นทางที่ขบวนรถวิ่งผ่านได้เช่นกัน
จัด“ขบวนรถไฟแห่งความทรงจำ”ในวันแม่
เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เส้นทางกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ
เนื่องในโอกาสวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ มั่นคง ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ และพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง นำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขของพสกนิกรทั่วทั้งแผ่นดิน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
การรถไฟฯ จัดเดินขบวนรถจักรไอน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เส้นทางกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพ ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)
เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงสร้างประโยชน์สุขต่อประชาชนและประเทศชาติตลอดมา
ตามขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์
“วันปิยมหาราช”
สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ กรุงเทพ – พระนครศรีอยุธยา
และอีกวันสำคัญ “วันปิยมหาราช” ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นอีกโอกาสที่การรถไฟฯ ได้นำรถจักรไอน้ำมาจัดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยวในเส้นทางระหว่างกรุงเทพ -อยุธยา-กรุงเทพ เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
โดยขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ จะออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 08.10 น. ถึงสถานีอยุธยา เวลา 10.15 น. นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 6 ชั่วโมง ส่วนเที่ยวกลับจะออกจากสถานีอยุธยา เวลา 16.40 น. ถึงกรุงเทพ เวลา 18.45 น. โดยมีสถานีที่หยุดรับ - ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีสามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงตามสถานีดังกล่าวข้างต้นได้ ซึ่งประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ – อยุธยา –กรุงเทพ ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปกับขบวนรถพิเศษ ยังสามารถบันทึกภาพหัวรถจักรไอน้ำในเส้นทางที่ขบวนรถวิ่งผ่านได้
ทั้งหมด คือ 6 ทริป 6 วันสำคัญ…!!!รู้แบบนี้ เตรียมวางแผนล่วงหน้ากันเสียแต่เนิ่นนนน!!!!หรือสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์ www.railway.co.th หรือเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
6ทริปจบ แต่เรื่องราวการรถไฟกับบทบาทส่งเสริมการท่องเที่ยวยังไม่จบ!!!เพราะนอกจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวในวันสำคัญ และร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ในวันสำคัญแล้ว!!!
ซึ่งภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก และประเทศไทยเบาบางลง ทำให้ผู้คนเดินทางท่องเที่ยว ทั้งระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวภายในประเทศเองมากขึ้น โดยสำหรับประเทศไทย ภายหลังเปิดประเทศ ก็มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลากรูปแบบ เพื่อรองรับทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างประเทศ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านทางรถไฟมาต่อเนื่อง
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย “นายนิรุฒ มณีพันธ์ “ก็ต้องการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้เนินบทบาท อยู่ระหว่างการจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวทุกวันเสาร์-อาทิตย์ไปในเส้นทางจังหวัดต่างๆ
โดยเฉพาะแคมเปญที่เรียกว่า “1day trip” เที่ยวแบบไป-กลับกรุงเทพ และจังหวัดต่างๆในวันเดียว อาทิ ทริป สุดชิค “นั่งรถไฟ KIHA 183 เที่ยวราชบุรี และเพชรบุรี” เลือกได้ 2 แบบ 2 สไตล์ เที่ยวแบบเช้าไป-เย็นกลับ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง กรุงเทพ-ราชบุรี-กรุงเทพ จำนวน 2 เที่ยว เมื่อวันที่ 4 และ 5 มีนาคม 2566 และเส้นทางกรุงเทพ-เพชรบุรี-กรุงเทพ จำนวน 2 เที่ยว ในวันที่ 18 และ 19 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาโดยจำกัดจำนวน 200 ที่นั่งต่อเที่ยวเท่านั้น !!!!ปรากฎได้รับความสนใจจองกันมาแบบเต็มพิกัด และผู้ร่วมในขบวนเดินทางต่างสนุกสนานกลับไป
“การจัดโปรแกรมท่องเที่ยวรถไฟวันเดย์ทริป “นั่งรถไฟ KIHA 183” เที่ยวราชบุรี และเพชรบุรี เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างการรถไฟฯ กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี...เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในการมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม และการใช้จ่าย เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อม!!!
โดยผู้ร่วมทริป ได้สัมผัสกับจุด Unseen ของการรถไฟฯ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์จากบริเวณกลางสะพานคานขึงแห่งแรกของประเทศไทย จากนั้นได้เยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์แห่งชาติราชบุรี” ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น สักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดขนอน และพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ ชมการเชิดหนังใหญ่ มหรสพโบราณที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย และไปต่อที่ ตลาดด่านขนอน ตลาดที่โดดเด่นด้านวัฒนธรรม เดินทางต่อเพื่อไปร่วมกิจกรรม “เพ้นท์โอ่ง” ปิดท้ายกิจกรรมที่ตลาด “กาดวิถีชุมชนคูบัว” หนึ่งในแลนด์มาร์กที่เที่ยวใหม่จังหวัดราชบุรี สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนชาวไทยวน เดิมชม ชิม ช้อป อาหารและของฝากท่ามกลางบรรยากาศตลาดโบราณ
ปิดท้าย..กับผู็ว่าพาเที่ยว
เที่ยวอย่างทรงคุณค่า
ไปกับ"ผู้ว่านิรุฒ มณีพันธ์"
พาไปเที่ยวมมาหลายที่ ขอปิดท้ายกับกิกรรมดีๆ เพื่อไม่ทิ้งทุกกลุ่ม ทุกวัย ไว้ข้างหลัง!!!
เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา และมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดกิจกรรม “รถไฟไทย ใครๆ ก็เที่ยวได้” ครั้งที่ 2 นำคณะครู และน้องๆผู้บกพร่องทางการมองเห็นฯ จากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จำนวน 100 คน นั่งรถไฟ KIHA 183 เดินทางท่องเที่ยว เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่นอกห้องเรียน พร้อมกับทัศนศึกษาและรับฟังการบรรยายจากวิทยากร เกี่ยวกับเรื่องราวของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประวัติความเป็นมาของขบวนรถไฟ KIHA 183 ที่ร้อยเรียงให้ความรู้ในเรื่องของประเทศญี่ปุ่น ประวัติและข้อมูลที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งในเรื่องอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ ตลอดถึงความสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทราของการเป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ( Eastern Economic Corridor) โดยมีนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ประธานมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา ดร.วรรธนะ เจริญนวรัตน์ รองประธานมูลนิธิฯ นางเสาวณี สุวรรณชีพ ประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้บริหารการรถไฟฯ ผู้บริหารมูลนิธิช่วยคนตาบอดฯ และมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา เข้าร่วมกิจกรรม
"การจัดกิจกรรม “รถไฟไทย ใครๆ ก็เที่ยวได้” ครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนแก่เด็กและเยาวชน ตามนโยบายของการรถไฟฯ ที่ต้องการให้องค์กรมีส่วนช่วยดูแลรับผิดชอบต่อสังคม และส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้บริการรถไฟได้อย่างเท่าเทียมกัน สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ได้นำคณะออกเดินทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) แลนด์มาร์คที่สำคัญของประเทศ ซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องราววิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มุ่งหน้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยขบวน KIHA 183 ที่การรถไฟฯ ได้รับมอบจากบริษัท JR HOKKAIDO จากประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการบรรยายเรื่องราวการเดินทางของ KIHA 183 ที่นำมาซ่อมบำรุงและดัดแปลงจนสามารถนำออกมาให้บริการแก่ประชาชนในด้านการท่องเที่ยว และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกิจการรถไฟไทย "นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ด้านศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ประธานมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า การนำคณะครู และน้องๆ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสออกไปเรียนรู้โลกกว้างด้วยการนั่งรถไฟ ทำให้ได้รับทั้งความรู้ และประสบการณ์ ควบคู่กับความสนุกสนาน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตจากโลกภายนอก และสร้างภูมิคุ้มกัน ความเชื่อมั่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ คุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือมีความสำคัญเป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยว และประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาเรียนรู้อีกมากมาย จึงนับเป็นโอกาสดีที่น้องๆ ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ได้มีโอกาสเดินทางสัมผัสโลกภายนอกด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการไปสักการะ “หลวงพ่อโสธร” ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งได้รับความเมตตาจากพระราชภาวนาพิธาน เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร และเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้โอวาทในเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม และประพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
พร้อมทั้ง ได้ร่วมรับฟังบรรยายเกี่ยวกับวัฒนธรรมเรื่องอาหารและของหวานของดี เมืองแปดริ้ว ณ ชุมชนวัดผาณิตาราม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรม และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องขนม อาหาร เป็นต้นกำเนิดของขนม และอาหารอร่อยหลายอย่าง รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มะม่วงขายตึก ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวและมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองที่มีต้นกำเนิดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปลากะพงยักษ์ สินค้าขึ้นชื่อประจำจังหวัด และฉะเชิงเทรายังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลากะพงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นอกจากนี้น้องๆได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีการใช้วัตถุดิบพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดฉะเชิงเทรา อาทิ ข้าวหอมมะลิ ปลาช่อนต้มข่า กุ้งผัดยอดมะพร้าว ปลากะพงทอดน้ำปลา ไก่ห่อใบเตย ไข่ยัดไส้ แตงโมปลาแห้ง ลูกจากลอยแก้ว โดยทางมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา และภาคีเครือข่าย รวมถึงชุมชนวัดผาณิตาราม ได้นำมะม่วงและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะม่วงซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดมาให้น้องๆได้เรียนรู้ รับประทาน สัมผัสของจริง พร้อมทั้งรับฟังข้อมูลไปในขณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีมมะม่วงที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มะม่วงน้ำปลาหวาน ที่มีมะม่วงหลากหลายชนิดอาทิ มะม่วงขายตึก มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงแรด มาให้น้องๆได้ลิ้มรสรับรู้ พร้อมได้สัมผัสถึงความแตกต่าง เป็นต้น
จากนั้นออกเดินทางไปสู่ มินิมูร่าห์ฟาร์ม แหล่งท่องเที่ยวเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ประจำจังหวัด เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เด็กๆ ให้ความสนใจและชื่นชอบ เพราะมีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งเลี้ยงอาหารสัตว์ต่าง เช่น กระต่าย ควาย เป็ด รอบๆ ฟาร์ม และน้องๆ ได้ลงมือทำพิซซ่า และไอศกรีมด้วยตัวเอง ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน สร้างรอยยิ้ม และความประทับใจตลอดการเดินทาง “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทของการรถไฟฯ มูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา และมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนทำให้ประชาชนคนไทยทุกคน ได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้บริการรถไฟได้อย่างเท่าเทียม”
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีเป้าหมาย เข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน..!!! ขณะเดียวกันยังไม่มองข้ามการท่องเที่ยมอย่างเท่าเทียมทุกเพศ ทุกวัยอีกด้วย
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะยังมีอีกหลายเส้นทางให้ได้ร่วมกิจกรรมสนุกๆๆ แบบ“1day trip” เที่ยวแบบไป-กลับกรุงเทพในวันเดียว หรือท่องเที่ยวในโอกาสวันพิเศษ
Comments