top of page

วิเคราะห์:แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการปรับโครงสร้างใช้จ่ายทางการคลัง มีผลแค่ไหน?(ตอน1)

อัปเดตเมื่อ 27 ก.พ. 2565

บทวิเคราะห์ : แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยนโยบายการปรับโครงสร้างการใช้จ่ายทางการคลัง และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ โดย ศ.ดร. กิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการอิสระทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในฐานะนักเศรษฐมิติโลกชื่อดัง ฉายภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และวิเคราะห์แนวโน้มและเสนอทางออกทางนโยบายไว้น่าสนใจ!!



1. นโยบายการคลัง เพื่อปรับโครงสร้างและการพัฒนาระยะยาว


เครื่องมือทางการคลัง

1)การใช้จ่ายภาครัฐบาลกลาง (Central Government Expenditure) ผ่านระบบการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ผ่านรัฐสภา เป็น เครื่องมือที่ยังมีประสิทธิผลในระดับหนึ่ง เพื่อเป็น การต้าน วัฐจักร (Counter Cyclical Fiscal Measures) หากปรับโครงสร้างการใช้จ่าย ให้ มีตัวทวีที่ มีประสิทธิผล (Effective Macro Impact from high multiplier Impact)


2) นโยบายด้านรายได้ จากภาษีอากร และ รายได้อื่นของรัฐบาล ไม่มีประสิทธิผล เพราะเศรษฐกิจถดถอย (Cyclical downswings) รัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้ รายได้ส่งมอบจากรัฐวิสาหกิจลดน้อยลง


3) การก่อหนี้สาธารณะโดยรัฐบาลกลาง (Public debts) เพื่อการ ลงทุนสาธารณะ เนื่องจากการออมในประเทศ ไม่พอเพียงต่อการลงทุน (Saving-Investment Gap) ในช่วงเศรษฐกิจ ขยายตัว ในขณะ ที่ เกิด การออมส่วนเกิน ในช่วงเศรษฐกิจหดตัว


1.1 นโยบายการคลังและนโยบายการพัฒนาพื้นที่

เครื่องมือทางการคลัง


4) การคลังท้องถิ่น (Local government finance) เป็นหน่วยงานรับ งบประมาณที่จัดสรรจากรัฐบาลกลาง

5) การนำเสนอโครงสร้างการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) เป็นการพัฒนา กลุ่มพื้นที่ศูนย์กลาง – พื้นที่รอบๆ (Core-Periphery Development) เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลายขั่ว (Multiple growth poles


1.2 การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พ.ศ. 2565-2575

- พื้นที่พัฒนาภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พ.ศ. 2565-2575 อันประกอบด้วย พื้นที่ระเบียง เศรษฐกิจ ภาคเหนือ (Creative LANNA NEC เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน และ จังหวัดรอบๆ)

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Bio-economy Northeastern Region, NEEC โคราช ขอนแก่น อุดร หนองคาย และ รอบๆ)

-ภาคกลางตะวันตก (New Economic Development with BCG, CWEC อยุธยา กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และ รอบๆ )

-ภาคใต้ (Bio-economic Development in the South, SEC ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ และจังหวัดรอบๆ )

แหล่งที่มาของทุน 1) ตลาดเงินทุนภายในประเทศ 2) ระดมทุนจากต่างประเทศ ระยะยาว 3) กองทุนเพื่อการ พัฒนา ระยะยาวเพื่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจรายสาขา การปรับผลิตภาพ ทุน กายภาพ ทุนมนุษย์ การวิจัย พัฒนา BCG และ การลงทุนทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Intangible Infrastructure) 4) การปรับ โครงสร้างการใช้จ่าย รัฐบาลกลาง ลดรายจ่ายเพื่อการป้องกันประเทศ ให้สัดส่วนการใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจ สังคม การกระจายความเจริญ ให้เป็น Multiple Growth Poles


2.การใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านเพื่อทำโครงการขนาดเล็ก และการโอนเพื่อการบริโภค ไม่ได้ผลเต็มที่ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ


• พบว่า โครงการที่จัดสรรให้กับหน่วยงานราชการ ส่วนกลาง -ภูมิภาค มีขนาดเล็กต่ำกว่า 20 ล้านบาท ต่อหัว ประชากรเป็นส่วนใหญ่ หรือกระจาย และกระจุก จนอาจไม่มีผลกระทบตามที่ต้องการ


• งบประมานที่จัดสรรให้กับหน่วยงานราชการส่วนกลาง-ภูมิภาค กระจายในจังหวัดที่มีรายได้ครัวเรือน 100,000- 200,000 บาทต่อปี เป็นส่วนใหญ่ งบที่จัดสรรให้ ส่วนมากต่ำกว่า 20 ล้านบาท


• งบประมาณ ที่แจกให้แก่การบริโภค มากเกินไป จน ไม่มีงบประมาณสำหรับการสร้างงานและการลงทุน สมัยใหม่


• หากรัฐบาลจะทำการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระยะสั้น ต่อไปสมควรที่จะปรับงบประมาณการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้านต่างๆ แทนการโอนเพื่อการบริโภคครัวเรือน ทั้งนี้โดยทำการ


1.)กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรเงินกู้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ให้ใช้มิติของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจที่ เน้น แนวทางของ BCG เพื่อกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อ สร้างเศรษฐกิจ ฐานชีวภาพ (Bioeconomy)


2.1 การโอนเพื่อการบริโภคไม่ได้ผลเต็มที่ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องปรับโครงสร้างนโยบายการคลังระยะยาว

ที่ใช้การหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร (Circular economy) เพื่อถึงเป้าหมายการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon and green economy) และทำการจัดสรรงบประมาณให้ลงสู่พื้นที่ ศูนย์กลาง (Core) –บริวาร (Periphery) อย่างมียุทธศาสตร์ โปรงใส และ วัดผลได้จริง (Dementalization of Growth Poles)


2.) ในขั้นต้นก่อนที่จะต้องออกพันธบัตรระยะยาวดังกล่าวในข้อที่ 1รัฐบาลจำต้องปรับโครงสร้างระบบภาษี และการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐบาลกลาง


2.1) ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อตอบสนองต่อทิศทางของการบริหารจัดการการผลิตและการใช้ สินค้า ต่างๆตามแนวทาง BCG (Bioeconomy-Circular-and Green Economy)

2.2) การปรับ โครงสร้างการใช้จ่ายภาครัฐบาลกลางตามงบประมาณ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น เฉพาะหน้า ในระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ





6ข้อเสนอในเชิงนโยบาย...!!!

(1) หากสามารถลดงบประมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคหรือรายจ่ายประจำอื่น ๆ (Government Consumption Expenditure) โดยยังคงรักษาระดับการขยายตัวของการเบิกจ่ายด้านเงินเดือนและค่าจ้าง (Compensation of Government Employees) ไว้ตามแนวโน้มเดิม แต่เพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข และการเคหะชุมชน (Economic , Health and Housing and Community Disbursement) ชะลอสัดส่วนการโอนการให้ เปล่าและการช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่าง ๆ (Transfer, Grant, and Other Benefit) จะสามารถพยุงการหดตัวทาง เศรษฐกิจมหภาคได้มากน้อยเพียงใด


(2) การเพิ่มการใช้จ่ายด้านการถือครองสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ด้านการเงิน (Acquisition of Non-Financial Assets) ที่เปรียบเหมือนการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน (Capital Expenditure) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ก่อให้เกิดผลต่อการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการ ฯลฯ


(3) ปรับสัดส่วนการใช้จ่ายดังเสนอข้างต้นของงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ 2565 (ต.ค. 2564 - พ.ย. 2565) ที่ เริ่มใช้ตั้งแต่ตุลาคม 2564 ( ปีปฏิทิน ) และต่อเนื่องในโครงสร้างของงบประมาณ ปี 2566-2575 ให้ใช้การลงทุนภาครัฐเพื่อรองรับการพัฒนาคนและเทคโนโลยีแทนการแจกเงิน นั้นคือการ ลงทุนในด้านต่าง ๆ ดังที่สมมติในข้างต้น การชะลอและลดการโอนงบประมาณด้าน การอุดหนุน ส่งผลต่อการเพิ่มของรายจ่ายทางด้านเศรษฐกิจ และส่งผตอการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ


(4) ชะลอการจัดซื้อยุทธภัณฑ์ทางการทหารไปก่อน และใช้งบที่เหลือจากการส่งคืนรัฐบาล การจัดสร้างแผนการสร้างบุคคลากรทางการทหารที่มีสมรรถนะสูงด้านเทคโนโลยีการทหารและเริ่มพิจารณา จัดหายุทธภัณฑ์ต่อไปหลังปีงบประมาณ 2566 การชะลอการใช้จ่ายด้านความมั่นคง จะส่งผลต่อการขยายตัวการใช้จ่ายทางด้านเศรษฐกิจและส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในทางบวก


(5) ลดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการบริโภค เช่น โครงการคนละครึ่ง ฯ โครงการอุดหนุนการใช้จ่ายเพื่อการ ท่องเที่ยวผ่านการใช้จ่ายของผู้เดินทางท่องเที่ยว แต่ให้จัดตั้ง Special Purpose Vehicle ที่มีกระทรวงการคลัง เป็นเจ้าภาพออกหุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล จากตลาดเงิน และแปลงทุนสำรองเงินตราต่างประเทศส่วนเกิน (Excess foreign saving hold by the Foreign Reserved Accounts) ให้บัญชีทุนสำรองเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล ในรูปเงินบาท เป็นกองทุนเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ระยะยาว ในจำนวนที่ไม่เกินเสถียรภาพของดุลย ภาพภายนอก (External Balance)


(6) การศึกษาเสนอให้จำกัดสัดส่วนการถือครอง บัญชีรายจ่ายนอกงบประมาณ และบัญชีรายจ่าย งบประมาณกลาง และให้ นายกรัฐมนตรีจัดสรร แต่ไม่มีระบบการกำกับดูแลที่ดี แม้จะมีความจำเป็นในการจ่ายที่ไม่สามารถ ขอผ่านระบบงบประมาณ เพื่อสร้างวินัยทางการคลังกลับคืนมา


(ติดตามต่อใน ตอน 2 การพยากรณ์เศรษฐกิจระยะสั้น-กลาง-ยาว)

Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page