สังคม
เขื่อนป่าสักฯ ทยอยปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อน หลังน้ำเหนือลดลง เช่นเดียวกับเขื่อนเจ้าพระยาที่ปรับลดการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาต่อเนื่อง
ทั้งนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ป่าสักชลสิทธิ์ แจ้งเตือนประชาชนเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565
เนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จากพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กรมชลประทานจึงขอปรับเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จากอัตราเฉลี่ยวันละ 50.11 ล้านลูกบาศก์เมตร (580 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ลดลงเป็นอัตราเฉลี่ยวันละ 43.20 ล้านลูกบาศก์เมตร (500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ตั้งแต่วันที่ 16 – 17 ตุลาคม 2565
ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะทยอยปรับลดการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณฝน และปริมาณน้ำที่มาจากพื้นที่ตอนบน เพื่อช่วยลดผลกระทบ ต่อประชาชนให้มากที่สุด และหากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งเตือนโดยด่วนต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อทรัพย์สินของประชาชน จากการปรับลดระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักที่ลดลงจากปัจจุบัน จึงใคร่ขอให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ทราบ และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป
ขณะวันที่ 17 ตุลาคม 2565 กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน (17 ตุลาคม 2565) เมื่อเวลา 06.00 น. ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 2,894 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที ซึ่งจะไหลลงมาสมทบกับแม่น้ำสะแกกรังอีก 144 ลบ.ม./วินาที ก่อนจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาตามลำดับ กรมชลประทาน รับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอัตรา 557 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบัน ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ +17.68 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง (ม.รทก) ระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 3,038 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ยอยู่ที่ 2,913 ลบ.ม./วินาที
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า แนวโน้มสถานการณ์น้ำที่สถานีวัดน้ำ C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำต่ำกว่า 2,700 ลบ.ม./วินาที ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มลดลงต่ำกว่าตลิ่งตามศักยภาพของแม่น้ำแต่ละช่วง ส่งผลให้น้ำที่เอ่อท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำตอนล่างลดลงตามไปด้วย จากนั้นจะเร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้มากสุด จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำผ่านระบบชลประทานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องโดยการขุดลอกเสริมคันดินและแนวป้องกันร่วมกับประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้มากที่สุด ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์แนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ
อนึ่ง
#ระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยา วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 06.00 น.
เหนือ + 17.68 ม.(รทก) ท้าย + 17.13 ม.(รทก) ระบาย 3,038 ลบ.ม/วินาที
ปิง (ระบาย 596 ลบ.ม/วิ ลด) น่าน (ระบาย 1,342 ลบ.ม/วิ ลด) นครสวรรค์(ระบาย 2,894 ลบ.ม/วิ ลด)
:Ct.19อ.อุทัยธานี(+21.14/144) Sideflow:(517) :C.3(+13.15/2,723) :C.7a(+9.52/2,675) :ศูนย์ศิลปชีพบางไทร (3.07/3,289) เฉลี่ย 2,913
โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติ และอากาศของประเทศจะเริ่มหนาวเย็น.
Comments