ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประเทศ การเงิน และตลาดทุน ดีกรีอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ศิษย์เก่า MIT เป็นนักเศรษฐศาสตร์หัวก้าวหน้าคนสำคัญของประเทศ ที่อธิบายเรื่องเศรษฐกิจมหภาค ได้เข้าใจง่าย เหมือนนักเศรษฐศาสตร์ชั้นครูอย่าง "ดร.โกร่ง"วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี
"ดร.กอบศักดิ์"มอนิเตอร์สถานการณ์รัสเซียผ่านบทความมาหลายชิ้น เพราะผลจากรัสเซีย-ยูเครนได้กระเทือนไปทั่วโลก หลายประเทศแทบเอาตัวไม่รอด!!!
ลองไปติดตามอ่าน!!!!
ภาพประวัติศาสตร์
เริ่มกลับไปที่เดิม !!!! ข่าวดี !!!!
หลังราคาน้ำมันโลกได้พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ไปอยู่ที่ 130-140 ดอลลาร์/บาเรล
ทำให้หลายๆ คนกังวลใจว่าจะเกิดปัญหา Stagflation นั้น
มาถึงวันนี้ ราคาน้ำมันโลกได้ลดลง กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนเกิดสงครามอีกครั้ง
ราคาน้ำมัน Brent ต่ำสุดวันนี้ที่ 94.5 ดอลลาร์/บาเรล
ราคาน้ำมัน WTI ต่ำสุดวันนี้ที่ 90.56 ดอลลาร์/บาเรล
ต่ำกว่าระดับจุดเริ่มต้น !!!
ก่อนปรับตัวขึ้น
สะท้อนว่า ราคาน้ำมันโลกขึ้นได้ ก็ลงได้เช่นกัน
และหมายความต่อไปว่า สิ่งที่ทุกคนกังวลใจ "ราคาน้ำมันโลกจะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อโลกพุ่งไปเรื่อยๆ" ตอนนี้ได้คลี่คลายไปบ้างแล้ว
ภาวะความไม่สมดุลระหว่าง Supply และ Demand ในตลาดน้ำมันโลก เริ่มดีขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การที่น้ำมันของรัสเซียซึ่งถูก Sanctions จากสหรัฐและพันธมิตร ได้ถูกส่งไปประเทศอื่นๆ แทนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ทำให้ปริมาณน้ำมันส่งออกในโลกกลับเป็นปกติมากขึ้น และจากความกังวลใจว่าจะเกิด Global Recession ในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดความต้องการใช้น้ำมันลง
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะราคาน้ำมันโลกเป็นต้นตอหลักของเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา
ถ้าราคาน้ำมันปรับตัวดีขึ้น การ Peak ของเงินเฟ้อก็จะตามมาในช่วงต่อไป
มาลุ้นกันนะครับว่า ราคาน้ำมันโลกในครึ่งหลังของปี จะปรับขึ้นไปสูงเหมือนช่วงแรกของสงครามอีกรอบ ได้หรือไม่
หากราคาน้ำมันโลกไม่ขึ้นสูงไปเช่นเดิม ยังวิ่งอยู่ที่ประมาณ 100 ดอลลาร์/บาเรล แรงกดดันต่อเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ ในครึ่งหลังของปีก็จะค่อยๆ ลดลง
สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อก็จะบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น
ซึ่งในเรื่องนี้ หากไม่มีอะไรพลิกผันจนเกินไป คงต้องบอกว่า
สถานการณ์ตลาดน้ำมันโลกในช่วงครึ่งหลังของปี จะต่างจากช่วงครึ่งแรก
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ
(1) รัสเซียเริ่มมีช่องทางในการขายน้ำมัน เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่น้ำมันจากรัสเซียหายไปจากตลาด ต้องไปหาจากแหล่งอื่นๆ แทน ทำให้เกิด Energy Price Shock
การที่รัสเซียส่งออกน้ำมันได้ คือจุดเปลี่ยน ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยบรรเทาสถานการณ์พลังงานโลก
(2) การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้โอกาสการเกิด Global Recession เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เรื่องนี้จะทำให้นักลงทุนไม่กล้าเก็งกำไรในราคาน้ำมันโลกมากเหมือนช่วงแรกๆ
เรื่องนี้ก็เป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดพลังงานโลก เพราะเมื่อนักลงทุนไม่กล้าเก็งกำไรกันเต็มที่ ราคาน้ำมันต่อให้ขึ้น ก็คงขึ้นได้ไม่เท่าช่วงแรกๆ ครับ
ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ "
Cr.เพจดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
Commenti