top of page

วิเคราะห์ : แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการปรับโครงสร้างการใช้จ่ายทางการคลังได้ผลแค่ไหน?(ตอน2)

บทวิเคราะห์ : แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยนโยบายการปรับโครงสร้างการใช้จ่ายทางการคลัง และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ โดย ศ.ดร. กิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการอิสระทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในฐานะนักเศรษฐมิติโลกชื่อดัง ฉายภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และวิเคราะห์แนวโน้มและเสนอทางออกทางนโยบายไว้น่าสนใจ!!


3. แนวโน้มการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจระยะยาว พ.ศ.2565-2575


1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังค่อนข้างเปราะบาง ด้านอุปสงค์ โลก และ Supply Bottleneck ห่วงโซ่มูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมของโลก สั้น และ ประเทศไทยจะ พบกับปัญหาการไต่ Global Value Chain

2. การปรับโครงสร้างการผลิต เกษตร อุตสาหกรรมการผลิต บริการ ที่เน้นการเพิ่มผลิตภาพของปัจจัยการ ผลิต จากทักษะแรงงาน ประสิทธิภาพการใช้ทุน การเสริมสร้างผลิตภาพจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการยอมให้อุตสาหกรรมที่ไม่สามารถปรับตัวได้ตามแนวโน้มของเทคโนโลยีให้ออกจากอุตสาหกรรม (exit)

3. ในการนี้รัฐบาลกลางทำการลงทุนสาธารณะด้านต่างๆที่เน้นความเป็นทุนสมัยใหม่ มากกว่าทุนทาง กายภาพดั่งเดิม (Traditional Public Investment) การเพิ่มคุณภาพประชากรในภาคเมือง และชนบทโดยการเพิ่มความรู้ในการป้องกันการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษา (Prevention before Curation) สำหรับโรคที่ไม่ระบาด (NCD)


3.1 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปทาน :ปรับทุน ทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยพัฒนา เทคโนโลยี Intangible infrastructure


- ปรับโครงสร้างระบบการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกที่จะเรียนและเก็บสะสมความรู้บนระบบคราวน์ พร้อมๆ กับหาประสบการณ์จากการท างานจริง ลดการลงทุนด้านกายภาพและบุคคลากร แบบเดิม ใช้ระบบการ เรียนรู้สมันใหม่ที่เชื่อมผู้เรียนกับตลาดแรงงานทักษะ (Development of Human Capital)

ข้อสมมุติฐานนี้นำไปสูการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทุนและทรัพยากร (ที่ดิน และทรัพยากร ธรรมชาติ) ประสิทธิภาพของทุนมนุษย์ น าไปสู่การเติบโตด้วยผลิตภาพมวลรวม (Total Factor Productivity Growth)


แผนแม่บทระยะยาว 10 ปี การเพิ่มของมูลค่าลงทุน รัฐ-เอกชน จะเท่ากับ Min 22,308.4 – Max103,352.7 บาท ต่อปี (2565-2575)


การสะสมทุระยะยาวจากการใช้จ่ายในส่วนทุนของโครงการลงทุนนี้ จะช่วยเสริมการสะสมทุนคงที่ (Gross Fixed Capital Formation) เพื่อสร้างมูลภัณฑ์ทุน (Capital Stock) ต่อไป




ผลการพยากรณ์เศรษฐกิจระยะยาว

การพยากรณ์เศรษฐกิจระยะสั้น-กลาง-ยาว


ระยะสั้น 2021 (2564) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเท่ากับ -2.46 % ต่อปี แม้รัฐบาลจะมีการกระตุ้น เศรษฐกิจ แต่ไม่มีการปรับโครงสร้างการใช้จ่ายด้านงบประมาณ (สภาพัฒนายังไม่มีตัวเลขทางการ แต่ผมเชื่อว่า น่าจะ ติดลบ) แต่หากมีการปรับโครงสร้างการใช้จ่าย โดยลดสัดส่วนการใช้จ่ายด้านความมั่นคง และให้เพิ่ม งบประมาณด้านเศรษฐกิจ จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นอัตราบวกเล็กน้อย +2.03% จากการ กระตุ้นเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างการใช้จ่ายของรัฐบาล (Restructure of Budget Allocation and Government fiscal measures on Consumption)

• ระยะกลาง 2022 -2023 (2565-2566)อัตราการเจิบโตเท่ากับ 3.23% -5.86%

• หากรัฐบาลทำการปรับโครงสร้างการจัดสรรเพิ่มสัดส่วนด้านเศรษฐกิจ ลดสัดส่วนความมั่นคง ต่อเนื่อง และ

• การขยายตัวทางเศรษฐกิจยัง ได้รับการกระตุ้นจากการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ในระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษ และ พื้นที่รอบๆ โดยภาครัฐฯและการฟื้นตัวของภาคเอกชน ตามสมมุตฐาน

• ระยะยาว ดู ตาราง 2024-2032









สิ่งที่รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมสำหรับระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(NEEC)


1) การระดมทุน จากการตลาดทุนภายใน/ภายนอกประเทศ เพื่อการลงทุนสาธารณะ ชี้นำการลงทุนภาคเอกชน สำหรับระเบียงเศรษฐกิจ

2) การเตรียมการสำหรับการได้ประโยชน์จากรถไฟ จีน-สปป. ลาว โดยปรับรูปแบบการใช้ที่ดินของ ระเบียงเศรษฐกิจ หนองคาย ระบบศุลกากร จาก การเก็บภาษี มาเป็น Custom Gateway เพื่อดูแลผลประโยชน์ทาง การค้าการลงทุนของไทย ใน อนุภูมิภาคและจีนตอนใต้

3) เพิ่มผลิตภาพของการปลูกมันสำปะหลังและอ้อย เช่น ผลิตต่อไร่ของมัน จาก 3.5 –>7.00 ตัน ต่อไร่ด้วย เทคโนโลยี BCG ในระเบียง NEEC

4) ลงทุนเรื่องแหล่งน้ำขนาดเล็ก-กลางใหญ่และ ธนาคารน้ำใต้ดิน 5) ขยายการลงทุนสาธารณะ ของภาครัฐและสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน ระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ครอบคลุม พื้นที่ของ หนองบัวลำภู บึงกาฬ และสกลนคร ให้ เชื่อมโยงกับ อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น และ นครราชสีมา






Comentários


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page