top of page

อดีตผู้ว่ารฟท-รฟม."ประภัสร์ จงสงวน"เตือน"อย่าปล่อยโครงการที่ไม่สมเหตุสมผลกลับมาหลอนคนไทยเหมือนโฮปเวล



นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และอดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ผู้มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย, รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟทางคู่ เป็นอดีตผู้ว่ารถไฟที่ถูกปลดด้วยคำสั่งรัฐบาลคสช. สั้นๆ 3 บรรทัด ซึ่งสั้นที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย


ต่อมาศาลปกครองกลางพิพากษาว่านายประภัสร์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยชดใช้เป็นจำนวนเงิน 3.1 ล้านบาท !!!


จากประสบการณ์ในตำแหน่งผู้ว่ารฟม. เป็นเวลา 12 ปี ผู้ว่ารฟท.เป็นเวลา 1 ปีกับ8เดือน ยังไม่นับรวมในตำแหน่งรองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ถือเป็น 3 รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ในกระทรวงคมนาคม


เขาจัดเป็นบุคคลที่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องของทางด่วน-รถไฟ และรถไฟฟ้า คนเดียวในประเทศไทย!!!


วันนี้ เขาได้ออกโรงเตือนผู้เกี่ยวข้องในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อูตะเภา)ผ่านทางเฟสบุกส์ไว้น่าสนใจ อยากชวนลองติดตาม


"ยังจำได้ไหมครับเมื่อปลายตค.ปีที่แล้ว ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า 3 สนามบินได้อ้างสถานการณ์โควิดจึงขอเลื่อนการดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญาในส่วนของการชำระเงิน 10,671ล้านบาทให้กับรฟท. เป็นค่าสิทธิในการบริหารรถไฟฟ้า ARL และขอเจรจาแก้ไขสัญญาในประเด็นต่างๆรวมถึงการขยายระยะเวลาโครงการ


ซึ่งผู้มีอำนาจได้สั่งการให้รฟท.และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาโดยเร็วที่สุด ในขณะที่รฟท.ได้ดำเนินการส่งมอบรถไฟฟ้า ARL และสิทธิในการเดินรถ(รวมถึงการเก็บค่าโดยสาร)ให้กับคู่สัญญา ตามข้อกำหนดของสัญญาแล้ว(กรุงเทพธุรกิจ -เศรษฐกิจ-20 ต.ค.64)....


มาวันนี้มีข่าวผู้รับสัมปทานไม่รับมอบพื้นที่ หลังเวนคืนสะดุดเหลือ 5% หลังจากที่ รฟท.ขอขยายกำหนดเวลาส่งมอบพื้นที่ 100% เป็นมีค.65 โดยผู้รับสัมปทานย้ำชัดว่า"ต้องเคลียร์สมบูรณ์100%" ตามกรอบสัญญา และส่งสัญญาณจ่อเลิกสัมปทานว่า รัฐผิดสัญญาพร้อมขอสิทธิประโยชน์เมืองมักกะสัน(ฐานเศรษกิจดิจิทัล 10ก.พ.65)....


เหตุการณ์ทั้งสองข้างต้นได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่สมดุลย์ของสถานะของคู่สัญญาที่ฝ่ายเอกชนเรียกร้องขอขยายเวลาการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นสาระสำคัญ(การจ่ายเงินค่าสิทธิ)ซึ่งผูกโยงกับเงื่อนไขที่ฝ่ายรัฐต้องปฏิบัติ(การส่งมอบรถไฟฟ้าARL) ซึ่งฝ่ายเอกชนก็ได้รับการตอบสนองเชิงบวกจากรัฐโดยได้รับการขยายเวลาการชำระเงินและเจรจาแก้ไขสัญญา ในขณะที่ฝ่ายรัฐยังคงส่งมอบรถไฟฟ้าARL ให้ฝ่ายเอกชนตามเงื่อนไขเดิม !!!!


วันนี้ ฝ่ายรัฐร้องขอผ่อนคลายเงื่อนไขในการส่งมอบที่ดินออกไปเพียง 1เดือน แต่ได้รับการปฏิเสธจากฝ่ายเอกชน มิหนำซ้ำยังมีการขู่บอกเลิกสัญญาและยืนยันที่จะแก้ไขสัญญาโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับที่ดินที่มักกะสัน(ที่มีการออกข่าวว่าจะถูกเนรมิตรให้เป็นเมืองมักกะสัน)และระยะเวลาสัญญา ...โดยยังไม่มีท่าทีว่าผู้มีอำนาจฝ่ายรัฐจะสั่งการใดๆหรือมีนโยบายให้หน่วยงานคู่สัญญาดำเนินการอย่างไร ???

คำถามที่ฝ่ายรัฐต้องตอบประชาชนคือ ทำไมฝ่ายรัฐต้องยอมเสียเปรียบและมีการดำเนินการที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าอาจเข้าข่าย"เอื้อ"ฝ่ายเอกชน ทั้งๆที่โดยข้อเท็จจริงไม่มีความจำเป็นใดๆเลยที่ฝ่ายรัฐจะต้องดำเนินการโครงการนี้เพราะโครงการนี้ถ้าพิจารณาตามแผนงานของรัฐเอง น่าจะซ้ำซ้อนกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน จึงมีประเด็นว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟ 3 สนามบินเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่และน่าจะทำให้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนทั้งในเรื่องเส้นทางและจุดหมายปลายทาง (ตามแผนงานทั้งสองโครงการจะสิ้นสุดโครงการที่ประเทศกัมพูชา)ทำให้ทั้งสองโครงการเป็นไปไม่ได้ทางการเงินและทางเศรษฐกิจ...


ฝ่ายรัฐจึงควรถือโอกาสนี้ทบทวนผลประโยชน์ของประเทศในภาพรวมและเลือกดำเนินการในสิ่งที่ถูกต้อง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ อย่าปล่อยให้โครงการที่ไม่สมเหตุสมผลในทุกๆด้านนี้มาหลอกหลอนประเทศไทย คนไทยและรฟท. เหมือนโครงการโฮปเวลล์อีกเลย!!!!

Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page