top of page

#อุ๊งอิ๊งค์ นำลิ่ว #นายกในใจประชาชนจากผลสำรวจนิด้าโพล ทั้ง 2 ครั้ง!!!!มีนาคม-เมษายน2566

การเมือง

@ครั้งที่ 1 สำรวจระหว่างวันที่2-8มีนาคม66 เผยแพร่ 26มีนาคม66 อุ๊งอิ๊งค์- แพทองธาร ได้คะแนนความนิยม 38.20% @ครั้งที่ 2 สำรวจระหว่างวันที่3-7 เมษายน 66 เผยแพร่ เมื่อ16 เมษายน66 อุ๊งอิ๊งค์-แพทองธาร ได้คะแนนความนิยม 35.70% จะพบว่า คะแนนโดยรวมส่วนตัวลดลง 3 จุด แต่หากรวมคะแนนความนิยมแคนดิเดตนายกจากเพือไทยคะแนนจะเพิ่ม 2 จุด ดังนี้ @ครั้งที่ 1 เมื่อรวมคะแนนอุ๊งอิ๊งค์กับนพ.ชลน่าน หน.พรรค จะได้ 39.80% @ครั้งที่ 2 เมื่อรวมคะแนนกับนายเศรษฐา-แคนดิเดตพรรคจะได้ 41.75%


ขณะที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกจากพรรคก้าวไกล คะแนนความนิยม้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย โดยเพิ่มจากครั้งที่ 1 ถึง 5 จุดเศษ จาก 15.75% เพิ่มเป็น 20.25%

ส่วนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกจากพรรครวมไทยสร้างชาติ คะแนนความนิยมลดลงจากครั้งที่ 1 ถึง 2 จุด จาก 15.65% ลดเป็น 13.60%


สำหรับนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ที่เพิ่งปรากฎรายชื่อในตารางสำรวจครั้งแรก เริ่มต้นจากอันดับ 5 โดยมีคะแนนความนิยม 6.05% สูงกว่าคะแนนทั้งของนายอนุทิน และนายจุรินทร์ รวมกันที่ได้เพียง 4.75% ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ!!!

และเขาเพิ่งประกาศตัวเลขดิจิตอลวอลเล็ต 1หมื่นบาท บนเวทีเมืองทองธานี ไปเมื่อ 5 เมษายน 66 ซึ่งเป็นนโยบายที่มาพร้อมกับชื่อ เศรษฐา เชื่อว่าในการสำรวจครั้งที่ 3 คะแนนความนิยมเขา น่าจะแซงอันดับ 3 หรือ อันดับ 4 ได้ไม่ยากนัก!!!

ขณะความนิยมพรรคการเมือง พบว่า พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกลยังได้รับความนิยมสูง โดยหากรวมคะแนนความนิยมทั้ง 2 พรรค ตัวเลขเกือบ 70% ที่เหลือเป็นพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งในระบบสส.แบบแบ่งเขต และสส.แบบบัญชีรายชื่อ เชื่อว่าในเขตเมือง พรรคก้าวไกล น่าจะมีคะแนนสูง ขณะในเขตรอบนอกของอำเภอเมือง พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ ลองติดตามผลแนบโดยละเอียด


=#นิด้าโพล ถามถึง #บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งที่2เมื่อ 16เมย.66 พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 35.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 20.25 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 13.60 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)

(อ่านเนื้อหาโดยละเอียด) #ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล#สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (#นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “#ศึกเลือกตั้ง2566 ครั้งที่ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 เมษายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 35.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (#พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 20.25 ระบุว่าเป็น #นายพิธาลิ้มเจริญรัตน์ (#พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 13.60 ระบุว่าเป็น #พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา (#พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 4.15 ระบุว่าเป็น #คุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธุ์ (#พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 3.45 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (#พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น #นายอนุทินชาญวีรกูล (#พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น #นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์ (#พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 10 ร้อยละ 1.95 ระบุว่าเป็น #นายกรณ์จาติกวณิช (#พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 11 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 2.55 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ #พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (#พรรคพลังประชารัฐ) #นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (#พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และนายบุญรวี ยมจินดา (พรรครวมใจไทย) สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 47.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.20 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 10.80 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.75 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 7 ร้อยละ 2.15 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 9 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.75 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 47.00 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.85 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.40 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.50 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.80 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.90 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.20 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.00 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.60 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.35 สมรส และร้อยละ 2.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.20 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.80 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.65 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.55 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.75 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.25 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.95 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.25 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.05 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.70 ไม่ระบุรายได้



CLOSE-UP THAILAND

@สื่อเพื่อการพัฒนาประเทศ



#นางสาวแพทองธารชินวัตร #หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย #เศรษฐาทวีสิน #แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพื่อไทย #นายแพทย์ชลน่านศรีแก้ว #หัวหน้าพรรคเพื่อไทย #พรรคเพื่อไทย #เพื่อไทยแลนด์สไลด์ #พรุ่งนี้เพื่อไทย #คิดใหญ่ทำเป็นเพื่อไทยทุกคน #แคนดิเดตนายกพรรคเพื่อไทย #closeupthailand #closeup #สื่อเพื่อการพัฒนาประเทศ

Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page