วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผย ภายหลังการประชุมภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ที่มีการขยับตัวเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 3 โดยที่ประเมินไว้ 9 เดือน เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัว 2.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าในปี 67 เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขยายตัวได้ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นสัญญานที่ดีของเศรษฐกิจไทย ซึ่งอัตราการเติบโตส่วนใหญ่เป็นในด้านการลงทุนของภาครัฐและภาคการท่องเที่ยว แต่ส่วนในด้านการลงทุนจากภาคเอกชนยังสามารถเติบโตเพิ่มได้อีก
ทั้งนี้ นายกฯ ได้มีการสั่งการให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหามาตรการเพื่อช่วยในเรื่องการลงทุนของภาคเอกชนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อจะทำให้ GDP ของประเทศให้ขยับมากขึ้น
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่สามของปี 2567 และ แนวโน้มปี 2567 - 2568 ณ สศช. โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่สองของปี 2567 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2567 ร้อยละ 1.2 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 เศรษฐกิจ ไทยขยายตัวร้อยละ 2.3
ด้านการใช้จ่าย
การลงทุนภาครัฐขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส การส่งออกสินค้าและ บริการ และการอุปโภคบริโภครัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์สูง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่ การลงทุนภาคเอกชนลดลง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวดสินค้าและการลดลงต่อเนื่องของการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 8.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลง ของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร การบริการด้านสุขภาพ การบริการขนส่ง และกลุ่มสถานบันเทิงอื่น ๆ การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการใช้จ่ายกลุ่มไฟฟ้า แก๊ส และ เชื้อเพลิงอื่น ๆการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 3.5ชะลอลงจากร้อยละ 4.3 ตามการชะลอตัว ของการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะที่การใช้จ่าย หมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 9.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลง ของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ส าหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 50.1 ลดลงจากระดับ 54.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับความเชื่อมั่นที่ต่ าสุดใน รอบ 6 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2566 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 6.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินส าหรับ สินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 36.9 ค่าตอบแทนแรงงาน (เงินเดือน ค่าบ าเหน็จ บ านาญ) ขยายตัวร้อยละ 1.1 ขณะที่ค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 8.5 ส าหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ าในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 19.9 (ต่ ากว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 31.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 20.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.0 และการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.6
การลงทุนรวม
ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 5.2 จากการลดลงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.5 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือร้อยละ 1.6 ต่อเนื่อง จากการลดลงร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนหมวดยานยนต์ โดยเฉพาะรถบรรทุกและยานพาหนะอื่น ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรฐานสินเชื่อของสถาบันการเงิน ที่เข้มงวดมากขึ้น และการลงทุนในหมวดการก่อสร้างลดลงร้อยละ 6.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจากความเข้มงวด ในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินท่ามกลางคุณภาพสินเชื่อที่ปรับตัวลดลง การลงทุนภาครัฐ ขยายตัว ครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 25.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของ รัฐบาลกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 43.1 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 1.1 ส าหรับ อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 26.3 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 25.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 20.9 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 1.7 โดยการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 1.4 และร้อยละ 2.3 ตามล าดับ 3
ด้านการค้าระหว่างประเทศ
การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 77,221 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูง ร้อยละ 8.9 ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร โดยปริมาณ ส่งออกขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ราคา ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (ร้อยละ 25.2) ยาง (ร้อยละ 55.9) คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 146.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 46.5) และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม (ร้อยละ 33.2) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ยานยนต์(ลดลงร้อยละ 10.6) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 1.5) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ลดลงร้อยละ 1.2) เป็นต้น ส่วนการน าเข้าสินค้า มีมูลค่า 71,448 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของการน าเข้าในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกสินค้าและ การขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยปริมาณการน าเข้ารวมขยายตัวร้อยละ 9.7 ขณะที่ราคาน าเข้า รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (198.5 พันล้านบาท) เทียบกับ การเกินดุล 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (203.1 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อน
ที่มา: CEIC รวบรวมโดยส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ: 1/ อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียเป็นรายไตรมาส 4
ด้านการผลิต
สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง และการขายปลีกฯ สาขาการขนส่งขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ขณะที่สาขาเกษตรกรรมลดลงต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสินค้าเกษตรในหมวดพืชส าคัญหลายรายการปรับตัวลดลง อาทิ ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 4.7) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.4) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ลดลงร้อยละ 0.6) อย่างไรก็ดีการผลิต สินค้าเกษตรส าคัญบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปาล์มน้ ามัน (ร้อยละ 4.1) โคเนื้อ (ร้อยละ 7.8) ไก่เนื้อ (ร้อยละ 6.5) สุกร (ร้อยละ 33.9) และกุ้งขาวแวนนาไม (ร้อยละ 0.3) ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.4 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรส าคัญ ๆ เช่น ยางพารา (ร้อยละ 56.4) กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 4.0) ปาล์มน้ ามัน (ร้อยละ 8.7) กุ้งแวนนาไม (ร้อยละ 19.8) และไข่ไก่คละ (ร้อยละ 4.0) ขณะที่สินค้าเกษตรส าคัญ ๆ ที่ราคาปรับตัวลดลง เช่น มันส าปะหลัง (ลดลงร้อยละ 31.9) ไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 6.1) และข้าวเปลือก (ลดลง ร้อยละ 2.1) การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยรวมขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.7 รวม 9 เดือนแรกของปี 2567
สาขาเกษตรกรรม
การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 1.8 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยการผลิตสินค้าส าคัญ ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อย ละ 1.7) การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 10.9) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 12.4) และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 6.1) เป็นต้น ส่วนการผลิตสินค้า ส า คั ญ ที่ปรับตัวลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 16.4) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และ ปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 11.5) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 7.4) และการผลิต จักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 12.7) เป็นต้น ส าหรับอัตราการใช้ก าลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 58.29 สูงกว่าร้อยละ 57.79 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ ากว่าร้อยละ 58.37 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวม 9 เดือนแรกของปี 2567
สาขาการผลิตอุตสาหกรรม
ลดลงร้อยละ 0.9 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจ านวน 8.588 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 93.22 ของจ านวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19) ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 3.57 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) ขยายตัวร้อยละ 6.6 สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จ านวน 2.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มี รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 5.82แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8ส าหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาส นี้อยู่ที่ร้อยละ 68.60 ต่ ากว่าร้อยละ 69.92 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 66.16 ในไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน รวม 9 เดือนแรกของปี 2567
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
ขยายตัวร้อยละ 9.3 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงของบริการขนส่งทางอากาศ และการขยายตัวต่อเนื่องของ บริการขนส่งทางบกและท่อล าเลียง เป็นส าคัญ รวม 9 เดือนแรกของปี 2567
สาขาการขนส่งและสถานที่ เก็บสินค้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 สาขาการขาย ส่งและการขายปลีกขยายตัวร้อยละ 3.7 5
สาขาก่อสร้าง
กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 15.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 33.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างของรัฐบาลและการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ การก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.4 รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 สาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.5
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.02 ต่ ากว่าร้อยละ 1.07 ในไตรมาสก่อน แต่สูงกว่าร้อยละ 0.99 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 0.6 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (198.5 พันล้านบาท) เงินทุนสeรอง ระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ 243.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้น เดือนกันยายน 2567 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11.63 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.3 ของ GDP แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2567
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 2.5 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2568
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 – 3.3 (ค่ากลางของการประมาณ การอยู่ที่ร้อยละ 2.8) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ (2) การขยายตัวของ อุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ (3) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว และ (4) การขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และ ร้อยละ 2.8 ตามล าดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.3 – 1.3 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี2568 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1. การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากร้อยละ 4.8 ในปี 2567 โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดีประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ า และแนวโน้ม การเพิ่มขึ้นของฐานรายได้ในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อเนื่องจากร้อยละ 1.7 ในปี 2567 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบวงเงิน รายจ่ายประจ าภายใต้งบประมาณประจ าปี 2568 และงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปี 2568
2. การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.2 โดย (1) การลงทุน ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.5 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก รวมทั้งการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการส่งเสริมการลงทุน และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในปี 2567 ตามกรอบวงเงิน รายจ่ายลงทุนประจ าปีงบประมาณ 2568 และรายจ่ายลงทุนเหลื่อมปี 2568 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 27.5 และร้อยละ 73.8 ตามล าดับ
3. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อเนื่องจาก ร้อยละ 3.8 ในปี 2567 ตามแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของปริมาณการค้าโลก เมื่อรวมกับการส่งออก บริการซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวเข้าสู่ระดับปกติมากขึ้นส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2568 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 4.2 เทียบกับร้อยละ 6.1 ในปี 2567
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2567 และปี 2568 การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2567 และปี 2568 ควรให้ความสำคัญกับ
1) การขับเคลื่อนภาคการส่งออกให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือผลกระทบจากการยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น โดย
(1) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น อาทิ สินค้า ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรักษาแรงส่งในกลุ่มสินค้าส่งออกหลักที่ ขยายตัวได้ดีและมีศักยภาพ อาทิ กลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ให้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัดการส่งออกไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัว ทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีก าลังซื้อสูง โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และ อาเซียน รวมทั้งให้ความส าคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนเพื่อเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ CLMV
(2) การติดตามและประเมินสถานการณ์การด าเนินมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะมีผลต่อการส่งออกของ ไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการ SMEs ควบคู่ไปกับการเร่งรัดมาตรการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก มาตรการกีดกันทางการค้าในระยะต่อไป
(3) การปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าโลก รวมทั้งข้อก าหนดและ แนวทางการปฏิบัติในประเทศคู่ค้า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ ความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ที่มีอยู่ให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่ก าลังอยู่ใน ขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าส าคัญใหม่ ๆ พร้อมทั้งการใช้สิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) และการใช้ประโยชน์จาก กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
(4) การยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก โดยมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่การใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูงให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดส าคัญ ๆ รวมทั้งได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดและข้อก าหนดของประเทศผู้น าเข้าเพื่อสามารถหลีกเลี่ยง การแข่งขันด้านราคา ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้า ขั้นกลางในประเทศให้มีความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และ สามารถเชื่อมโยงสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศกับห่วงโซ่การผลิตโลกได้มากขึ้น นอกจากนี้ ควรให้ ผู้ประกอบการสินค้าที่มีสัญญาณการลดลงของความต้องการในตลาดโลกและมีอัตราการใช้ก าลังการผลิต ต่ าต่อเนื่องพิจารณาทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนการผลิตและการส่งออกสินค้า และ (5) การส่งเสริมให้ ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ควบคู่ไปกับการอ านวย ความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก
2) การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยมุ่งเน้น (1) การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าน าเข้าให้มีความเข้มงวดรัดกุมมากขึ้น และเร่งออก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมสินค้าน าเข้า รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในการจัดท า ความตกลงยอมรับร่วมด้านมาตรฐานระหว่างประเทศ และการเพิ่มบทลงโทษส าหรับผู้ที่น าเข้าสินค้าไม่ได้ มาตรฐาน (2) การยกระดับมาตรการก ากับดูแลผู้ประกอบการออนไลน์จากต่างประเทศ โดยเร่งรัดให้ ผู้ประกอบการออนไลน์จากต่างประเทศต้องจดทะเบียนนิติบุคคลและมีส านักงานในไทยเพื่อให้ภาครัฐสามารถ ก ากับดูแล การเพิ่มจ านวนรายการสินค้าควบคุมภายใต้มาตรฐานบังคับเพื่อให้ครอบคลุมรายการสินค้า ที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภายในประเทศ รวมถึงการเร่งรัดปรับปรุงกฎหมายภาษี ส าหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ และแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่จ าหน่ายสินค้าในไทย (3) การตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม 7 จากประเทศผู้ส่งออกส าคัญ และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้สามารถเข้าถึง กระบวนการยื่นค าขอและไต่สวนการใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด การอุดหนุน และมาตรการปกป้อง จากการน าเข้า (AD/CVD/AC) และ (4) การด าเนินการอย่างเคร่งครัดกับผู้กระท าความผิดลักลอบน าเข้า สินค้าที่ผิดกฎหมาย หลบเลี่ยงภาษี หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจ ควบคู่ ไปกับการยกระดับผู้ประกอบการและมาตรฐานสินค้าไทย
3) การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความส าคัญกับ (1) การเร่งสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยอาศัยประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและความพร้อมทาง ด้านโครงสร้างพื้นฐานในการดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการย้ายฐานการลงทุนของ ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ที่มีฐานการผลิตขยายการผลิตในประเทศไทย (2) การเร่งรัดนักลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ในช่วงปี 2565 – 2567 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเร็ว เพื่อช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวของภาคการผลิตและภาค บริการที่มีศักยภาพ (3) การเร่งรัดโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่ ส าคัญให้เป็นไปตามแผนที่ก าหนดไว้(4) การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและ บริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะการปรับลดอุปสรรคด้านขั้นตอนกระบวนการ และ ข้อบังคับ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต และการพัฒนาผลิตภาพ แรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมและภาคบริการเป้าหมาย และ (5) การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่าน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อน าไปสู่การผลิตสินค้าไทยที่มีศักยภาพและมีมูลค่าสูงขึ้นที่สามารถ หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาและมีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดและข้อก าหนดของประเทศ ผู้น าเข้า
4) การดูแลเกษตรกรและสนับสนุนการปรับตัวในการผลิตภาคเกษตร โดยให้ความส าคัญกับ (1) การเร่งรัดติดตามสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาถึงมือเกษตรกรโดยเร็วทั้งการให้ ความช่วยเหลือผ่านเงินชดเชยและปัจจัยการผลิต และการเร่งฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบภัยภายหลังภัยพิบัติ (2) การเตรียมการรองรับความผันผวนของสภาพดินฟ้าอากาศในช่วงปรากฏการณ์ลานีญาที่อาจจะส่งผล กระทบต่อการขยายตัวของภาคเกษตร โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ควบคู่ไปกับการยกระดับ ประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเตือนภัยให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพ ภูมิอากาศและภัยพิบัติต่าง ๆ (3) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปให้ขยายตัวสูง ต่อเนื่องจากปี 2567 เพื่อสนับสนุนให้ราคาสินค้าเกษตรในประเทศปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ (4) การสร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมการปลูกพืชและใช้วิธีการผลิตที่ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าสูงและการใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ สูงขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ
5) การให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ที่ประสบปัญหาด้านการเข้าถึงสภาพคล่องเนื่องจาก คุณภาพสินเชื่อปรับลดลงต่อเนื่อง โดยให้ความส าคัญกับการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ SMEs ควบคู่ไปกับ การยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งการใช้ประโยชน์ จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเข้าถึง สภาพคล่องได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันควรเร่งรัดด าเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคครัวเรือนและ ภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีวงเงินสินเชื่อไม่สูงมากนัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับสูง
Comments