กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อ “ขยะ” เป็นทรัพยากรมีค่า ด้วยระบบการจัดการขยะภายในเดอะ ปาร์ค โครงการมิกซ์ยูสอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด “Life Well Balanced” และนับเป็นโครงการแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานLEED Gold® เวอร์ชั่น 4 ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานระดับสากลล่าสุดสำหรับอาคารเขียว และมาตรฐาน WELL Certified™ Core Gold ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานทางสุขภาวะระดับสากลล่าสุดในวงการอสังหาริมทรัพย์ มอบวิตามินบำรุงพืชจำนวน 1 ตัน จากการแปรรูปขยะภายในอาคาร (Waste Management) ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) แบ่งปันแนวคิดด้านความยั่งยืน และสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม ร่วมสร้างโลกสีเขียว ลดปริมาณขยะ กับ “Zero Food Waste”
คุณกมลนัย ชัยเฉนียน กรรมการบริหาร บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า“เดอะ ปาร์ค ตั้งใจที่จะแบ่งปันจุดยืนด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ผู้เช่าและคู่ค้าของเราได้ปฏิบัติร่วมกัน เราได้ศึกษาและทดลองแนวทางปฏิบัติมากมายจนได้แนวทางที่จะจัดการและใช้สอยทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมไปถึงลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจาการดำเนินงานภายในอาคารด้วย”
“เดอะ ปาร์ค ให้ความสำคัญเรื่องระบบการจัดการขยะตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โดยได้จัดสรรพื้นที่เอาไว้สำหรับการจัดการขยะอย่างถูกหลักความยั่งยืน และด้วยความตั้งมั่นที่จะจัดการขยะภายในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เลือกสรรเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารคุณภาพสูงของ OKLIN สามารถย่อยเศษอาหารได้หลากหลายกว่า ไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกน้ำ รวมถึงขยะเศษอาหารที่มีชิ้นใหญ่ บรรจุภัณฑ์หมวดที่ย่อยสลายได้ ตลอดจนกระดาษทิชชู่ ไม่ต้องผ่านการบด ปั่น สับ ที่สำคัญที่สุดคือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศน้อยกว่า ก็ช่วยสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า” คุณณัฐกานต์ คลอวุฒิอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโอ๊คลิน (ประเทศไทย) กล่าว
ด้านคุณสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า “ทางสำนักงาน กปร. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นสื่อกลางรับมอบวิตามินบำรุงพืชคุณภาพ ซึ่งทางสำนักงาน กปร. จะจัดสรรวิตามินบำรุงพืชจากขยะเศษอาหาร ไปใช้ในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อไป”
เดอะ ปาร์ค เริ่มใช้ระบบการจัดการขยะเศษอาหารโดยเครื่อง OKLIN ตั้งแต่เดือนโครงการเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563 โดยสามารถบริหารจัดการแปลงขยะเศษอาหารภายในโครงการเป็นวิตามินบำรุงพืชได้แล้วประมาณ 25 ตัน ลดปริมาณก๊าซมีเทนเทียบเท่าแก๊สหุงต้มมาตรฐานประมาณ 65 ถัง และลดปริมาณ Carbon Footprint หากนำไปฝังกลบกว่า 62 ตัน CO2e หรือเทียบเท่าการปลูกต้นสักทดแทนกว่า 3,600 ต้น
Комментарии