ปี 2024 เป็นอีกหนึ่งปีที่ บีโอไอ ยืนยันบทบาทการเป็นหน่วยงานให้การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย ด้วย 9 ตัวเลขไฮไลต์ที่สะท้อนศักยภาพและความสำเร็จ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตการลงทุนระดับโลก
1) 1.13 ล้านล้านบาท : สถิติมูลค่าการลงทุนที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี
ปี 2024 บีโอไอทำสถิติใหม่ ด้วยมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนความมั่นใจที่นักลงทุนทั่วโลกมีต่อไทยในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
2) 3,137 โครงการ : ยอดอนุมัติที่มากที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบีโอไอ
จำนวนโครงการสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบีโอไอ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เห็นว่าไทยพร้อมในทุกด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาด และสิทธิประโยชน์ที่สนับสนุนการเติบโต
3) สิงคโปร์ครองแชมป์ : นักลงทุนด้วยเม็ดเงินลงทุนสูงสุด
สิงคโปร์ ยังคงเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยสูงสุดด้วยมูลค่า 357,540 ล้านบาท ตามมาด้วย จีน (174,638 ล้านบาท) และฮ่องกง (82,266 ล้านบาท) โดยการลงทุนจากสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นโครงการของบริษัทแม่จากจีนและสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นพื้นที่ไร้ความขัดแย้ง (Conflict-free Zone)
4) Data Center มาแรง เงินลงทุนทะลุ 241,000 ล้านบาท ในมือผู้เล่นระดับโลก
ปี 2024 เป็นปีทองของธุรกิจ Data Center และ Cloud Service ด้วยการลงทุนจากยักษ์ใหญ่ เช่น Google, AWS, Alibaba Cloud และ Huawei และอีกหลายบริษัทชั้นนำเลือกไทยเป็นฐานลงทุน สะท้อนความสำคัญของธุรกิจดิจิทัลในเศรษฐกิจยุคใหม่ และศักยภาพไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอนาคต
5) 5 อุตสาหกรรมเด่นแห่งอนาคต : ดิจิทัลครองอันดับ 1
1. ดิจิทัล (243,308 ล้านบาท) : ธุรกิจ Data Center และการพัฒนาซอฟต์แวร์
2. อิเล็กทรอนิกส์ (231,710 ล้านบาท) : การผลิต PCB และเซมิคอนดักเตอร์
3. ยานยนต์ (102,366 ล้านบาท) : การผลิต EV และชิ้นส่วนยานยนต์
4. เกษตรและอาหาร (87,646 ล้านบาท) : การแปรรูปอาหาร
5. ปิโตรเคมี (49,061 ล้านบาท) : การผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษ
6) ปรับเกมเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและพลังงานสะอาด
การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือขยะ มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 114,484 ล้านบาท เป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงและมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ แสดงถึงความพร้อมของไทยที่จะรองรับความต้องการด้านพลังงานสะอาดในอนาคต นอกจากนี้ การลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม Smart & Sustainable Industry ยังเติบโตกว่า 30 % เม็ดเงินลงทุน 35,560 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นพลังงานสะอาด ระบบอัตโนมัติ และการลดต้นทุนด้านพลังงาน
7) ภาคตะวันออกขึ้นแท่นโซนสุดฮอต เงินลงทุน 573,066 ล้านบาท ในพื้นที่ศักยภาพสูง
พื้นที่ภาคตะวันออกยังคงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดึงดูดนักลงทุนมากที่สุด (573,066 ล้านบาท) ตามด้วย ภาคกลาง (392,267 ล้านบาท) และภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (71,591 ล้านบาท) พร้อมการกระจายโอกาสสู่ภูมิภาคอื่น
2.1 แสนตำแหน่ง - 2.6 ล้านล้านบาท : ตัวเลขที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
การลงทุนในปีนี้ไม่ได้แค่สร้างงานกว่า 2.1 แสนตำแหน่ง แต่ยังใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท และสร้างรายได้จากการส่งออกสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท สะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนและยั่งยืนต่อเศรษฐกิจไทย
9) 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยใน 3 ปีข้างหน้า
บีโอไอกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) โดยเน้น 5 อุตสาหกรรมสำคัญ
• อุตสาหกรรมชีวภาพและเศรษฐกิจสีเขียว: เกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด
• ยานยนต์ไฟฟ้า : ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน
• อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง : เซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอัจฉริยะ
• ดิจิทัลและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ : เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล
• ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ : ศูนย์กลางธุรกิจและบริการระดับภูมิภาค
อนึ่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม2568 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa : LTR Visa) (มาตรการ LTR Visa)
2. เห็นชอบการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa
3. เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการการตรวจลงตราเพื่อคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (SMART Visa) (มาตรการ SMART Visa) เพื่อให้คงเหลือเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (SMART - S) กรณีจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยแล้ว
4. มอบหมายให้ สกท. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขประกาศ คำสั่ง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa และมาตรการ SMART Visa ต่อไป
5. มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกเงื่อนไขทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทต่อการจ้างงานชาวต่างชาติผู้ถือ LTR Visa ต่อไป
6. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พิจารณาดำเนินนโยบายและมาตรการระดับประเทศเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศให้แก่บุคลากรในประเทศ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. เรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) นำเสนอ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (มาตรการ LTR Visa) และปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการมาตรการดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการ LTR Visa และ Smart Visa ซึ่งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567เห็นชอบด้วยแล้ว โดยการขอปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษดังกล่าว มีประเด็นสำคัญ เช่น
1.2 Smart Visa
เนื่องจาก LTR Visa และ Smart Visa บางประเภทมีกลุ่มเป้าหมายและหลักเกณฑ์ใกล้เคียงกัน สร้างความสับสนให้แก่ชาวต่างชาติ จึงควรมีการยกเลิกประเภท Smart Visa ที่ซ้ำซ้อนกับ LTR Visa และวีซ่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากขอบเขตประเภทและคุณสมบัติของ LTR Visa เปิดกว้างและสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า Smart Visa ดังนั้น คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (คสดช.) จึงเห็นชอบให้ผลักดันให้ LTR Visa เป็นวีซ่าหลักแก่ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง โดยเสนอให้พิจารณายกเลิก Smart Visa โดยให้คงไว้เฉพาะ SMART-S สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) กรณีจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นแล้ว (ประเภท 2 ปี) เพราะยังไม่มีการตรวจลงตราประเภทอื่น ๆ ที่มีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกันและมีเงื่อนไขผ่อนคลายเหมาะสมกับลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจ Startup โดยสามารถส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Ecosystem) ของประเทศได้ต่อไป
2. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง
จากมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้เชื่อว่า จะส่งผลบวกต่อการลงทุนในปี2568 ตามมา!!!
Σχόλια