top of page

“เมื่อกำไรของระบบสถาบันการเงินสูง? เกิดอะไรขึ้นกับนโยบายการเงินของไทย!!!

ฟังข้อคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์มหภาคคนสำคัญ

SATURDAY ANALYSIS

By Dr.KITTI LIMSAKUL

 "ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์มหภาค เรียนมาด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์!!!!

 

ผมคิดว่า   ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) นำโดยท่านผู้ว่าการที่มีความรู้  ที่เป็นหลักทฤษฎีทางเศษฐศาตร์   แต่ไม่ใช่สายนโยบายการเงินบริสุทธิ์    เนื่องจากท่านจบปริญญาเอกสายindustrial organizations    ใช้ทฤษฎีเกมส์ทดสอบ   ท่านจึงอาจไม่มีพื้นฐานเรื่องแบบจำลองสมัยใหม่ด้านการเงินที่ซับซ้อน เช่น Dynamic Stochastic General Equilibrium ที่มีการสร้างตัวแบบและ กลไกการ จำลองเศรษฐกิจสำนักต่างๆ

 

กระนั้นก็ตาม นักวิชาการของแบงก์ชาติเองน่าจะมีความเชี่ยวชาญ ระดับต้นๆ ของประเทศ !!!!!

 

ผมจึงสงสัยว่า


1. เวลาท่านผู้ว่าสัมภาษณ์มักไม่อ้างอิงหลักต่างๆเท่าที่ควร    แต่สับสน  วนเวียนระหว่าง เป้าหมายของนโยบายการเงิน   อัตราดอกเบี้ยนโยบาย กรอบเงินเฟ้อฐาน และเป้าหมายการร่วมกำหนดเป้าการเติบโต และ อื่น ๆ กับนโยบายการคลัง ฯลฯ มักไม่ปรากฏ หรือผมพลาดข่าวดังกล่าว ?

 

  

2.เรื่องที่ธปท / ผวก.พลาด คือการคงดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าที่ควร เฉลี่ยร้อยละ 2% pa  ณ ศักยภาพ การเติบโต 3.5% เงินเฟ้อ ที่สูงกว่านี้ และ อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนกว่านี้เทียบ $ สรอ 

 

 เมื่อพิจารณา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำมาก (simultaneously) เป้าหมาย เงินเฟ้อ ที่ core inflation ต่ำกว่าเป้า (inflation target) จึงแสดงถึงความไม่สมดุลของอุปสงค์ _อุปทานรวม ราคา … ของระบบ เศรษฐกิจมหภาค อย่างชัดเจน

 

 3.ดอกเบี้ยนโยบายที่สูง (2.5% pa)ทำให้ดอกเบี้ยตลาดสูง (4.5%)แต่ที่แย่คือ ดอกเบี้ยที่สถาบันการเงิน ปล่อยกู้ในระบบสูง => 6%pa  สำหรับรายย่อย และไม่ยอม ปล่อยเครดิตเงินกู้กลัว ลูกหนี้ ไม่สามารถ ชำระ

 

ท่านน่าจะเข้าใจอะไรแปลกแยก จากทฤษฎีมาตรฐานหรือไม่ ? 

 

4. ดอกเบี้ยสูง คือ ปริมาณเงินหมุนเวียนต่ำ    เพราะเงินฝากส่วนเกิน ธนาคารพาณิชย์ เอาไปซื้อตั๋วธปท. ระยะสั้น หรือให้ธปทเก็บเข้าบัญชี

 

ธนาคารพาณิชย์(ธพ.)อยู่ได้ด้วยการกิน ดอกเบี้ยส่วนต่างจากเงินฝากประชาชน     แต่เอาไปให้ธปท.กู้กินดอกสบาย ไม่ สี่ยง ! 

 

5. เมื่อหนี้ไม่เพิ่ม  ธนาคารพษริชย์ไม่ต้องกันสำรองและอยู่ได้ด้วยดอกเบี้ยรับจากธปท.   ก็ทำให้ กำไรส่วนต่างดอกเบี้ย รับจากปล่อยกู้รายใหญ่และ ธปท .หักด้วยดอกเบี้ยที่จ่ายให้ผู้ฝากเงิน( Net Interest Margin )NIM สูงมากตามที่เป็นข่าว

 

แม้จะหารด้วย สินทรัพย์ ธพ. ก็เชื่อ ว่า สัดส่วน NIM /Asset ratio ของไทย สูงกว่าค่าเฉลี่ยของธพ.ในระดับการพัฒนาเดียวกัน 


(ขอขอบคุณกราฟประกอบจากกรรมกรข่าว)


6. แสดงถึงระบบสถาบันการเงินไทยไม่มีประสิทธิภาพเชิงระบบ หรือ มีอำนาจเหนือตลาด และเป็นสิ่งเดียวกับการที่ดอกฝากต่ำมาก     ในขณะดอกกู้สูงมีช่องว่างกว่า 4% pa . NIM สูงเกินกว่าเข้าใจ 

 

7. ธปท. ที่บริหารภายใต้ ท่านผู้ว่าคนปัจจุบันขาดฝีมือในการกำกับดูแลระบบสถาบันการเงิน    อาจ

เพราะธปทไม่แยกระบบกำกับสถาบันการเงินออกเป็นอิสระ จากการกำหนดนโยบายการเงิน (No Firewall) ด้วยจงใจไม่ปรับการกำกับให้แยกขาดจากกัน หลังจากเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ‘97 เหมือนในหลายประเทศที่เขาแยก เพื่อโปร่งใส

  

สรุป คือ 

1. ธปท. อาจมีบุคคลากรระดับบริหารมีคุณภาพด้อยด้านความเข้าใจทฤษฏี และการบริหาร   เมื่อเทียบกับรุ่นบรรพบุรุษหรือไม่ ? แต่ผมไม่คิดเช่นนั้น

 

2. หรือมี ระบบการตั้งบุคคลการบริหารภายใน ภายนอกพัวพันกันในเรื่องหลักการ และสับสนระหว่างกา ร กำหนดนโยบายการเงิน ( กำหนดดอกเบี้ยนโยบาย และ เป้าเงินเฟ้อฐาน เพื่อเกิดเสถียรภาพภายใน (เงินเฟ้อ) /นอก (อัตราแลกเปลี่ยน) และการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (ดอกฝากต่ำ -ดอกกู้สูงอย่างไร้ประสิทธิภาพ

 

ธนาคารพาณิชยไม่อยากให้กู้กับรายย่อย  เพราะเคยปล่อยเงินกู้เพื่อบริโภคจนเกิดหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหา และกระทบต่อกำไรธนาคาร และ ผู้ถือหุ้น 

 

3. การบริหารจัดการระบบ ธพ. เป็นภาพซ้อนกับการเงิน นอกระบบ ธปท ไม่ผลักดันการปล่อยกู้ ในระบบ  ประชาชน และ ผู้ประกอบการ ไปหาการเงินนอกระบบ  จนหนี้ สินครัวเรือน สูงมาก เป็นอุปสรรคต่อ การ

กระตุ้นการบริโภค 

 

4. เราควรกำหนด ให้ธปท.  ต้องรายงานต่อประชาชน ผ่านรัฐสภาปีละ สองครั้ง ดีใหม่ครับ ? 

ถ้าต้องการเป็นอิสระจากการคลัง / การเมือง ฝั่งนโยบาย

 

 ควรแกฏหมายให้ธปท สร้างกลไกการกำหนด core inflation และเป้าเงินเฟ้อ  สอดคล้อง กับ การ กำหนดดอกเบี้ยนโยบายแบบมีความรับผิด/ชอบ

 

 หากผิดพลาดจากเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีความไร้เสถียรภาพ ภายในและ ภายนอก ธปท จะต้องรับผิดชอบด้วยต่อประชาชนผู้เสียภาษีด้วยได้ใหม เช่น เดียวกับด้านการคลัง/ฝ่ายนโยบาย

 

การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงิน โดย ลด NIM /Asset ratio ให้ต่ำกว่า เช่น  ต่ำกว่า  1.5 % ผวก และ กรรมการต้องรับผิดชอบ ชี้แจงต่อรัฐสภาหากต้องการอิสระ

 

สรุป หากต้องมีการประเมิน ท่าน ผวก. และกรรมการทุกชุดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนักวิชาการธปท . รุ่น ปัจจุบัน ข้อควร ประเมิน

 

1. ท่านนำประเทศชาติให้รอดพ้นจากการถดถอยทางเศรษฐกิจได้หรือไม่    ด้วยนโยบาย การเงินการคลังร่วม  ท่านมิพีงอ้างแต่เป้าด้านเสถียรภาพด้านเดียว น่าจะไม่เพียงพอ ครับ

 

 2.องค์กรธปท. ท่านขาดการมีการทัดทาน และเห็นต่างอย่างอิสระบริสุทธิ์จากภายนอก และภายใน ? ที่ใช้หลักทางทฤษฎีที่เหมาะสม และกล้าทัดทานอย่างมีวิชา

 

3. ประชาชนเคลือบแคลงว่า ผลตอบแทน หรือ ต้นทุนการส่งมอบเนื้องาน บริการของธปทสูงเกินกว่าผลได้ของงานที่ส่งมอบต่อสาธารณะหรือไม่ ?

 

 4. การสรรหาผู้ว่าการ ธปท.และ กรรมการจากภายนอก เพื่อสร้างองค์กรให้มีเลือดผสม ระหว่างการเป็น ข้าราชการมากขึ้นเรื่อยๆ  ของธปท และ การเป็นวิชาการอิสระที่เก่ง    และตรงไปตรงมา   รับผิดชอบต่อ ประชาชนผ่านรัฐสภา  ธปท.ควรสร้างให้เกิด ได้ หรือ ยัง?

 

 หลังการมีผู้ว่าการธปท.ท่านใหม่    ที่เก่ง และรับฟังรอบด้าน เพื่อเลิกสร้าง "เกาะอิสระ"

ผมคิดว่า องค์กรธปท .จะเป็นที่พึ่งด้านโยบายการเงินของสังคมตลอดไป   หากแต่ต้องพิจารณา ปรับปรุงครับ"

 

 

ดร กิตติ ลิ่มสกุล

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

 


Comments


ดาวน์โหลด (1).png

เพื่อให้ทุกท่านสามารถติดตามประเด็นวิเคราะห์เจาะลึกผ่านทาง CLOSE-UP THAILAND เชิญเพิ่มเพื่อนทางไลน์ @closeupthailand

bottom of page